วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สิงห์ปราบป่าพญาปราบเมือง ครูบาออ สำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ


ครูบาออ สิงห์ปราบป่า พญาปราบเมือง



ครูบาออ

สิงห์ปราบป่า พญาปราบเมือง

สีหราชตำราไทยใหญ่ เชื่อว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ และมนุษย์ เป็นใหญ่ในโลก เพราะเหยียบโลกไว้ใต้อุ้งเท้า เหยียบทวีปไว้ทั้ง 4 ทวีป วัดทางภาคเหนือ จึงนิยมสร้างสิงห์คู่ยืนเฝ้าประตูวัด คอยพิทักษ์วัด จับวิญญาณชั่วร้ายกิน ปราบปรามสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สมัยครูบาออเป็นนักรบไทยใหญ่ช่วงสงครามโลกครั้ง 2 ท่านลงยันต์กลางหลังเพื่อนทหารด้วยยันต์สิงห์ปราบป่า พญาปราบเมือง ปรากฏว่าเพื่อนท่านทั้งกองร้อย รบเก่ง ศัตรูกลัว รบที่ไหนชนะที่นั่น สร้างความคร้ามเกรงในอำนาจตบะเดชะไปทั่ว เพื่อนท่านเดี๋ยวนี้ แม้แก่ชรา ก็ยังมีอำนาจ ตบะเดชะอันเกิดจากยันต์สิงห์ปราบป่าของครูบาออ ได้เป็นนายพล นายทหารใหญ่ ประจำรัฐไทยใหญ่กันทุกคน
ครูบาออให้สร้างสิงห์ปราบป่า พญาปราบเมือง เคล็ดวิชามหาปราบแห่งหอคำหลวง ด้วยเหล็กอาถรรพ์ ผูกคอด้วยสายสิญจน์ที่เสกมา 5 ปี เป็นรุ่นแรก เพื่อมอบตอบแทนผู้ร่วมสร้างทางขึ้นดอย สร้างถนนไหว้พระธาตุ มีพุทธคุณ หนุน ส่งในเรื่องมหาปราบ มหาอำนาจ มหาราชศักดิ์ ตบะ เดชะ อยู่ยง คงกระพัน เหมาะกับข้าราชการ นักปกครองนายทหาร นายตำรวจ ทำงานปราบปราม เสี่ยงอันตราย เจ้านายที่ลูกน้องเกเร คุมคน คุมทัพ ปราบปรามศัตรู คนชั่ว คนพาลรังแก ปราบปราบสิ่งเลวร้ายที่มองไม่เห็น ที่ไหนทางสามแพร่ง ที่ไหน ทำมาหากินไม่ขึ้น ร้านเรือน ร้านค้า มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ ถูกคุณคน คุณไสยกระทำ ไปหาหมอกี่หมอไม่หาย หน้าหมองคล้ำทำกินไม่ขึ้น เอาสิงห์ไปปราบป่า เอาพญาไปปราบเมือง เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี ศัตรูหมู่ปัจจามิตรที่คิดร้ายทำอันตรายเราไม่ได้ แต่จะกลับพ่ายแพ้ภัยตัวเอง มีอำนาจ ตบะ เดชะ เจ้านายโปรดปราน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งสิงห์ที่เป็นใหญ่ เหนือป่า ด้วยอำนาจแห่งพญา ที่เป็นใหญ่เหนือเมือง


แม่ยันต์สิงห์ปราบป่า ที่ครูบาออให้นำมาสร้างสิงห์ปราบป่า พญาปราบเมือง


แม่ยันต์สิงห์ปราบป่า

พิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยววัตถุมงคล
ครูบาออ ปณฺฑิโต ทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ภายในสำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันอังคาีร ขึ้น 7 ค่ำเดือน 12 (ตรงกับวันที่ 20 พฤษจิกายน พ.ศ.2555)



วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหรียญสมเด็จพระเจ้าพรหมมหาราช หลวงพ่อบุญเย็น ต.ปงคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่


เหรียญสมเด็จพระเจ้าพรหมมหาราช หลวงพ่อบุญเย็น ต.ปงคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่




เหรียญสมเด็จพระเจ้าพรหมมหาราช หลวงพ่อบุญเย็น ต.ปงคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่++ - 2

เหรียญสมเด็จพระเจ้าพรหมมหาราช หลวงพ่อบุญเย็น ต.ปงคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่++ - 1


"ประวัติ พระพรหมมหาราช วัดพรหมมหาราช"

              ในพุทธศตวรรศที่ 11 ไทยได้อพยพครั้งใหญ่จากดินแดนบางส่วนของจีนลงมาทางใต้มาซ่องสุมผู้คนอยู่ทางลำน้ำโขงตอนเหนือ อันเป็นแหล่งของชาติละว้ามาก่อน พระเจ้าสิงหนวัติ กษัตริย์ไทยในสมัยนั้น ทรงตั้งราชธานีขึ้นใน พ.ศ. 1111 และขนานนามว่า “โยนกนาคนคร” และให้นามแคว้นว่า “แคว้นโยนกเชียงแสน” มีอาณาเขตตลอดสิบสองปันนา จนถึงเมืองหนองแสทางใต้ถึงแดนหริภูญชัยของขอม อาณาจักรของไทยในส่วนนี้ บางตอนก็เถลิงอำนาจเป็นใหญ่ และขับไล่ขอมออกจากราชอาณาจักรไป ส่วนบางตอนก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจขอมเหมือนกัน
              ในรัชสมัยของพระเจ้าพังคราช ทรงถูกขอมขับไล่ออกจากโยนกนาคนคร เมี่อปี พ.ศ. 1640 ได้ไปอยู่ที่เมืองส่วยเมืองหนึ่งชื่อว่า “เวียงสีทอง” ริมแม่น้ำสายทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ โยนกนคร แล้วขอมก็เข้าครอบครองโยนกนาคนครต่อไปพระเจ้าพังคราชทรงมีพระราชโอรสองค์แรก ทรงพระนามว่า “ทุกขิตกุมาร” (เหตุที่ได้รับพระนามเช่นนี้ สันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะต้องถูกเนรเทศออกจากโยนกนาคนคร) 
              ต่อมาใน พ.ศ. 1645 ทรงมีพระราชโอรสอีกคนหนึ่ง ทรงพระนามว่า “เจ้าพรหมกุมาร” ทรงมีวรรณผุดผ่อง และมีศิริลักษณ์งดงามยิ่งนักเจ้าพรหมกุมาร มีพระทัยชอบในการสงครามมาแต่ทรงพระเยาว์ อันแสดงถึงความเป็น นักรบมาแต่กำเนิด ครั้งหนึ่งได้ทรงสุบินนิมิตว่า ช้างคู่บารมีของพระองค์อยู่ในแม่น้ำสายซึ่งมีช้างเผือกถึงสามเชือก  
              หากจับช้างเผือกตัวที่หนึ่งจะมีอำนาจมากปราบได้ทั้ง 4 ทวีป 
              และถ้าจะจับได้ตัวที่สองจะได้ปกครองชมพูทวีป
              ส่วนตัวที่ 3 หากจับได้ปกครองอาณาเขตดังเดิม
             พระเจ้าพรหมได้กระทำตามศุภนิมิตครั้งนี้ พระองค์ตรงไปที่แม่น้ำสาย แทนที่จะเห็นช้างเผือกกลับกลายเป็นงูใหญ่ลอยมาตามน้ำ 3 ตัว ตัวที่ 1 ผ่านไป พระองค์ไม่จับ ตัวที่สองผ่านไปพระองค์ก็ไม่จับอีก พอตัวที่สาม พระองค์ทรงจับ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ งูนั้นกลับกลายเป็นช้างเผือกรูปร่างสง่างาม 
             ช้างเผือกนี้ไม่อาจขึ้นจากน้ำได้ พระเจ้าพังคราชจึงให้ทำกรุดึงด้วยทองหนังพันชั่ง ให้พระเจ้าพรหมตีกระดิ่งนั้น ช้างเผือกจึงขึ้นจากน้ำได้ ตำบลนั้นจึงปรากฏนามว่า “ตำบลควานทวน” และช้างเผือกนั้นได้ชื่อว่า “ช้างพางคำ”
             เมื่อได้ช้างพางคำมาแล้ว พระเจ้าพรหมได้ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้เข้มแข็งกว่าแต่ก่อนเปลี่ยนชื่อเวียงสีทองเป็นพางคำ และทรงฝึกซ้อมทหารให้มีความชำนาญในการรบเพื่อทำการต่อต้านสู้รบกับขอมพระยาขอมรู้เรื่องราวจึงได้ยกทัพมาตีเมืองพางคำ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกำลังของ พระเจ้าพรหมได้ จึงถูกโจมตีแตกพ่ายไป 
             พระเจ้าพรหมได้ตามตีจนได้โยนกนาคนครกลับคืนมาตามเดิมเมื่อได้โยนกนาคนครกลับคืนมาแล้วจึงได้ยกทัพเข้าตีขอมจนแตกกระจัดกระจายไป จนกระทั่งมาถึงเมืองกำแพงเพชร (ตามตำนานกล่าวว่าพระอินทร์เกรงว่าการที่พระเจ้าพรหมยกทัพเข้าโจมตีขอมไม่หยุดยั้ง อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์มากมาย จึงได้ให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตกำแพงศิลากั้นเอาไว้แต่ทางการสันนิษฐานกล่าวว่าการที่พระเจ้าพรหม ยกกองทัพมาถึงเมืองกำแพงเพชรเท่านั้น
             อาจเป็นเพราะเสบียงอาหารหมด ไพร่พลก็ก่อนกำลังลง และได้อาณาเขตกว้างขวางมากพออยู่แล้ว พอที่จะใช้สกัดกั้นทัพของขอมก็เป็นได้)พระเจ้าพรหมตีได้โยนกนาคนคร หลังจากเสียเอกราชให้ขอมไปเมื่อปี พ.ศ.1640 แล้ว เป็นเวลา 19 ปี 
            ต่อมาในราว พ.ศ. 1659 ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคนครเป็นราชธานีดังเดิม เปลี่ยนนามใหม่ว่านครชัยบุรีย์ และได้สร้างนครใหม่ทางริมแม่น้ำฝาง ซึ่งไหลมาต่อกับแม่น้ำกก ฝั่งใต้ ขนานนามนครนี้ว่า “นครไชยปราการ” พร้อมกับให้พระเจ้าทุกขติกุมาร พระเชษฐาธิราชไปครองเมืองพางคำเพื่อป้องกันการรุกรานของขอม
            ในยุคนี้มีพวกไทยที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงต่างก็อพยพข้ามฟากมาตั้งภูมิลำเนาในแคว้นโยนกฝั่งขวามากขึ้น นับว่าพระองค์สามารถรวบรวมพวกไทยที่แตกกระจัดกระจายนั้น ให้รวมอยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่น ภายใต้อาณาจักรในแคว้นลานนาไทย
            ผลงานของพระเจ้าพรหมมหาราช เท่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ย่อมเป็นอนุสรณ์ ให้ประชาชาติไทยระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ แม้นว่าพระองค์จะเสด็จล่วงลับไปแล้วเป็นเวลานานร่วมพันปีเศษแล้วก็ตาม แต่วีรกรรมอันเต็มไปด้วยความกล้าหาญอมตะของพระองค์นั้น ย่อมคงอยู่ตลอดกาล    
                               สถานที่ที่เป็นพระราชานุสาวรีย์ พระเจ้าพรหมมหาราช ปัจจุบัน ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้น โปรดให้สร้างวัดและได้ร้างไป ขณะนี้หลวงพ่อบุญเย็นกำลังพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ 70 กว่าไร่ ให้เป็นวัดต่อไปในอนาคต โดยจะตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระเจ้าพรหมมหาราชว่า “วัดพระเจ้าพรหมมหาราช” ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางวิปัสนากรรมฐาน และศูนย์กลางค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา 
             ตั้งสถานพยาบาลเพื่อช่วยราษฎร ที่ยากจนและห่างไกลทางการคมนาคมในท้องที่นั้น หลวงพ่อบุญเย็นปฏิบัติตามแบบอย่างของพระเจ้าพรหมมหาราชว่า ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชท่านสถาปนาคน สถาปนาสังคมต่าง ๆ ให้อยุ่ในสภาพที่อยู่ดีกินดี และมีความสงบสุขร่มเย็น เพื่อทำตามแบบอย่างดังกล่าว หลวงพ่อบุญเย็นจึงได้สร้างสถานศึกษาให้เด็กยากจน ในชนบท สร้างสถานที่บรรเทาสาธารณภัย สถานที่ที่เป็นส่วนรวม เช่น สถานีอนามัย ถนนหนทาง สร้างสะพานข้ามน้ำ สร้างเขื่อนกั้นน้ำ สร้างวัดวาอาราม เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้มาศึกษาเกี่ยวกับศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี อันนี้ก็นับว่ามหากุศลอย่างยิ่ง



ประสบการณ์จากผู้นำไปพกพาอาราธนาติด ตัว

 "เหรียญรุ่นปี 2517 ของ หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม" แห่งสำนักพระเจ้าพรหมมหาราช อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

แม้มิใช่เหรียญที่สร้างขึ้นเป็นอันดับ แรกของทำเนียบ แต่ก็เป็นเหรียญแรกซึ่งออกแบบให้ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูป หลวงพ่อบุญเย็น ขนาดครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ทั้งนี้ เนื่อง จากเชื่อว่าหลวงพ่อบุญเย็น ในอดีตชาติปางก่อนเคยมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพรหมมหาราช ดังนั้น ทุกครั้งที่หลวงพ่อบุญเย็น จะประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญ หรือพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ท่านต้องทำพิธีอัญเชิญ "พระเจ้าพรหมมหาราช" ร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง เหรียญทุกเหรียญของท่านต้องมีรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ที่ด้านหลังเหรียญเสมอ และที่สำคัญที่สุดคือ เหรียญที่ท่านเป็นผู้สร้างขึ้นนี้ ท่านไม่เคยจำหน่ายเลย มีแต่แจกฟรีทุกเหรียญ

ทุกคนที่ได้เหรียญรุ่นนี้ของท่านไปต่างมีความหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีอานุภาพในทางคุ้มครองป้องกันตัวเป็นเลิศ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยโชคลาภอย่างน่ามหัศจรรย์ด้วย"ด.ต.สมบูรณ์ จอมกิจ" ซึ่งอาราธนาเหรียญหลวงพ่อบุญเย็น รุ่นปี 2517 ติดต่อเสมอมา เล่าว่า เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่หลวงพ่อบุญเย็น ปลุก เสกเดี่ยวในป่าช้าเป็นเวลา 3 เดือน ตลอดพรรษา ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วจึงนำไปปลุกเสกซ้ำตามสถานที่ต่างๆ ความศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ต้องสงสัย เพียงข้ามคืนที่มีการเริ่มแจกจ่ายออกไป เหรียญรุ่นนี้ก็ ดังแล้ว เพราะ ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้ประจักษ์มากมาย เช่น

"ตอนที่ผมได้เห็นคนผีเข้า ซึ่งญาติได้พยายามหาหมอผีเก่งๆ มาปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่เมื่อมีผู้นำเหรียญ "หลวงพ่อบุญเย็น" รุ่นนี้ไปแช่น้ำอธิษฐานทำน้ำ มนต์ไปพรมผู้ที่ถูกผีเข้า ปรากฏว่าผีนั่นแหละที่ต้องเป็นฝ่ายเผ่นหนี""ด.ต.สมบูรณ์" ได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตนว่า ในชีวิตเคยผ่านการเกณฑ์ทหารมา 2 ปีแล้วมาเป็นตำรวจตระเวนชายแดน และเหรียญรุ่นพ.ศ.2517 นี้ ได้ช่วยคุ้มครองให้ แคล้ว คลาดจากภยันตรายต่างๆ ตลอดมา กล่าวคือ เหตุการณ์ถูกฝ่ายตรงข้ามลอบทำร้าย มักจะเกิดขึ้นก่อนหรือไม่ก็หลังจากผู้เล่านำกำลังเคลื่อนที่ผ่านพ้นไปแล้ว เสมอ อีกเรื่องหนึ่งเคยมีแพทย์อาสาสมัครขึ้นไปบนดอย แล้วถูกยิงด้วย เอ็ม-16 เป็นชุด แต่คมกระสุนก็สามารถสร้างได้เพียงจ้ำแดงเหมือนผื่นเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด



เหรียญเม็ดแตงพระนาคปรกรุ่น ๑ คุ้มภัยให้ลาภ ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ

เหรียญเม็ดแตงพระนาคปรกรุ่น๑ คุ้มภัยให้ลาภครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ  
จุดประสงค์ :เพื่อสมทบทุนและนำปัจจัยร่วมสร้างโรงอาหารของสำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ

เชิญร่วมบูชาวัตถุมงคลเหรียญเม็ดแตงพระนาคปรกรุ่น ๑ คุ้มภัยให้ลาภ ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ


เชิญร่วมบูชาวัตถุมงคลเหรียญเม็ดแตงพระนาคปรกรุ่น ๑ คุ้มภัยให้ลาภ ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ

รูปพิธีปลุกเสก








พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแดนเหนือ "หลวงปู่ครูบาออ ปัณฑิโต" สิริอายุ 93 ปี แห่งสำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะ อ.เชียง ดาว จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมอย่างมาก 

ตามประวัติท่านเป็นครูบาผู้เฒ่าที่มากด้วยวิชาขมังเวท เจ้าอาคมชาวไทยใหญ่ ปลีกตัว เร้นกายอยู่บนดอยสูงเพียงรูปเดียว

"ครูบาออ" รูปนี้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาจากประชาชนรัฐไทยใหญ่มาก 

"เจ้าฟ้าแสงเชียง" เจ้าแผ่นดินรัฐฉานหรือไทยใหญ่ เป็นผู้สักสังวาลเพชรบนศีรษะท่านตอนอายุ 20 ปี เพราะโปรดที่ "นายออ" ตอนนั้นเป็นทหารกล้า นำพากองทัพไทยใหญ่รบชนะข้าศึก โดยไม่เสียกำลังพลแม้แต่คนเดียว

จากคำบอกเล่าของท่าน "เจ้าปิ่นยา" พระสังฆราชไทยใหญ่ เป็นผู้บวชให้ เมื่อบวชแล้วท่านศึกษาอักขระ ตำราเลขยันต์ฉบับหอคำหลวง เจนจบพุทธาคม จนได้รับการวางตัว เป็นพระมหาเถระองค์ต่อไป

ท่านเรืองวิชาตั้งแต่เป็นสามเณร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ถูกเกณฑ์เป็นทหารไทยใหญ่ รบกับพม่า ทั้งกองร้อยรบไม่เคยแพ้ เพราะก่อนรบท่านทำน้ำมนต์และสักกระหม่อมให้เพื่อนทหารสู้กับศัตรู ปรากฏว่า ปืนทหารพม่ายิงมาไม่ออกบ้าง ออกแต่ไม่ถูกบ้าง ลูกระเบิดตกใกล้ๆ ไม่ระเบิดบ้าง แม้ตอนนี้เจ้ายอดศึก ผู้นำไทยใหญ่ ก็เคารพนับถือท่านอย่างที่สุด 










วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อานิสงฆ์การสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าคำ เพื่อความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยาย อันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภาวัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศ สุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้ายและศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพานได้

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสติ วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชรคอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศ จากเวรภัย
อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเราเพื่อให้เกิดพระ ไตรลักษณญาน อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลกหรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตรภูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้าหรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
กุสลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจ อิติปิ โส ตลอดทั้งหัวใจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศ ฐาบรรดาศักดิ์ ทั้ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป
อินทะสาวัง มหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้วมีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ
พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรมทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่ อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย
ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและครอบครัว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า
อานิสงส์การสร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้
โบราณว่าผู้ใดสร้างบุญกุศลและได้สวดภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นประจำจะมีอานิสงส์มาก เมื่อป่วยหนักให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้นกำลังจะสิ้นใจผู้อยู่ใกล้บอกนำว่า อะระหัง หรือ พุทโธ เรื่อย ๆ เมื่อถึงแก่กรรม จงเขียน จิ. เจ. รุ. นิ. บนแผ่นทองหรือแผ่นเงิน ใบลาน, กระดาษ แล้วม้วนเป็นตะกรุด (ห้ามคลี่) ใส่ปากให้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพสวรรค์ด้วย
ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง
1. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
2. กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์
3. ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา บุตร ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง
4. บิดา มารดา จะมีอายุยืน
5. สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี
6. บุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
7. วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
8. เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
9. แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://board.palungjit.com/
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

พระสมเด็จนพเก้า วัดเขาวง จ.สระบุรี ปี ๒๕๓๖


พระสมเด็จนพเก้า ทอดกฐินวัดเขาวง จ.สระบุรี






พระผงรุ่นนี้ชื่อว่า " พระสมเด็จนพเก้า" เป็นรุ่น ๑ ได้สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นวัตถุมงคลแก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญ วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ. สระบุรี
๑๔ พ.ย.๓๖
ในการจัดสร้างนี้ได้รวบรวมผงศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่สำคัญ ๙ แห่ง พระเครื่องเก่าที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศกว่า ๕๐๐ องค์ อาทิ พระผงสมเด็จวัดระฆัง,วัดใหม่อมตรส, วัดอินทร์ ,วัดเกศไชโย, วัดพลับ,วัดปากน้ำ,วัดสามปลื้ม,หลวงปู่โต๊ะ,เจ้าคุณนรฯ,หลวงปู่ทวด,หลวงปู่เผือก,หลวงพ่อปาน,วัดเงินคลองเตย,หลวงพ่อแก้วชลบุรี,ผงพระพนัสบดี,นางพญาพิษณุโลก,พระพุทธชินราช,พระรอด-พระคง ลำพูน,วัดโพธิ์นิมิตร,วัดโพธิ์ท่าเตียน,วัดดาวเรืองพระผงสุพรรณ,พระขุนแผนสุพรรณ,ผงเก่าจากกรุวัดเขาวง,ไม้โพธิ์อธิษฐาน หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน พิจิตร, และอื่นๆอีกมากมาย และได้รับการอธิษฐานจิตจากท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ และการประกอบพิธีพุทธาภิเษกก็ได้ทำอย่างครบถ้วนตามแบบแผนทุกประการ.....



วัตถุประสงค์ในการจัดกฐิน 
เนื่องด้วยวัดเขาวง ( ถ้ำนารายณ์ ) เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสอนพระกรรมฐานสายพระคุณ
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ( พระราชพรหมยาน ) วัดท่าซุง มีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์
วัดสระเกศเป็นองค์อุปถัมภ์ วัดเขาวงเป็นวัดที่มีมาแต่ โบราณนับกาลเวลาไม่ได้ มีพระครูภาวนาพิลาศ
( หลวงตา ) เป็นเจ้าอาวาส ขณะนี้หลวงตากำลังบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวร วัตถุ และเครื่องสาธารณูปโภค
ในวัดเขาวงตามสมควร เพื่อต้อนรับผู้มาปฏิบัติธรรมให้พักอยู่อย่างเป็นสุขและปลอดภัย
จึงขอเชิญศิษย์ร่วมพ่อฤาษีฯ ศิษยานุศิษย์ ท่านผู้มีจิตศรัทธามารวมน้ำใจร่วมกุศลสามัคคี
ในครั้งนี้โดยทั่วกัน




วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหรียญที่ระลึก 400 ปี ยุทธหัตถี สุพรรณบุรี นเรศวรชนะศึก


เหรียญที่ระลึก 400 ปี ยุทธหัตถี สุพรรณบุรี นเรศวรชนะศึก




จัดสร้างโดยจังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อปี 2535 เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระการกระทำยุทธหัตถีขององค์พระนเรศวรมหาราชครบรอบ 400 ปี 


รูปหล่อ สมเด็จพระนเรศวร
พิพิธภัณฑ์พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 



เหรียญทรงผนวช ที่ระลึกบูรณะพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐



พ.ศ. ๒๕๕๐  บูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ครั้งใหญ่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐


 

 
เหรียญทรงผนวช ที่ระลึกบูรณะพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐


 

 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ประกอบพิธีปิดผนึกโมเสกพระเจดีย์ เป็นปฐมกฤษ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร  
เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารในวันจันทร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๕.๐๐ น.  ณ พระอุโบสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร






เหรียญทรงผนวช"ที่ระลึก บูรณะพระเจดีย์วัดบวรนิเวศ  
 
ข่าวสด  *---วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6156

พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อพระฤกษ์สร้างเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2334 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ดำเนินการก่อสร้างมาโดยลำดับ

แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 มีคูหาภายใน กลางคูหาประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและมีพระเจดีย์กาไหล่ทองประดิษฐานอยู่โดยรอบอีก 4 องค์ 

ด้านตะวันตก คือ พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ คือ พระบรมราชานุสรณ์ พระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อีก 2 องค์ ไม่ปรากฏพระประวัติ 

บนลานด้านทักษิณชั้น 2 ด้านเหนือประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ ด้านตะวันออกมีซุ้มปรางค์ประดิษฐาน พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาในการพระราชพิธีฉลองสมโภชพระเจดีย์ หล่อพระพุทธรูป ภ.ป.ร. 

ทรงเจิมแผ่นศิลาปฐมฤกษ์ที่จะผนึกเปลี่ยนผนังหินอ่อนพระอุโบสถ เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่น ข้าราชการเวียนเทียนสมโภชพระเจดีย์ที่ได้บูรณะใหม่

ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างเหรียญทรงผนวชเป็นที่ระลึกโดยมีข้อความด้านหลังว่า "เสด็จฯ สมโภชพระเจดีย์ทองบวรนิเวศ 29 สิงห์ 2508 ในมงคลสมัยพระชนมายุเสมอสมเด็จพระราชบิดา"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงอนุสรณ์ถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนา และวัดบวรนิเวศวิหาร โปรดให้คณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ บูรณะพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. และเหรียญทรงผนวชเป็นที่ระลึกในการบูรณะพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเหรียญทรงผนวช 

1. เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้วัดบวรนิเวศวิหารสร้างเหรียญทรงผนวชเป็นที่ระลึก เมื่อ พ.ศ.2508 โดยมีข้อความด้านหลังเหรียญว่า "เสด็จฯ สมโภชพระเจดีย์ทองบวรนิเวศ 29 สิงห์ 2508 ในมงคลสมัยพระชนมายุเสมอสมเด็จพระราชบิดา" 

2. เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ที่ทรงดำรงมั่นพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพระราชประเพณีในการออกทรงพระผนวชอันสืบเนื่องมาแต่บรรพกาล

3. เพื่อเป็นอนุสรณ์สิ่งมงคลสักการะของพสกนิกรพุทธศาสนิกชนในการที่พระมหากษัตริย์ไทย ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 


4. เพื่อเป็นอนุสรณ์ และปฏิการะสมนาคุณผู้บริจาคสมทบในการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

5. เพื่อเป็นสิ่งสักการะอนุสรณ์ของพสกนิกรพุทธศาสนิกชนจะได้มีเหรียญพระบรมรูปทรงพระผนวชเป็นที่ระลึก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหรียญ ร.5 ทรงชุดฮ่องเต้ รุ่นเฉลิมพระเกียรติ วัตถุมงคลของ มทร.ธัญบุรี

เหรียญ"ร.5-ทรงชุดฮ่องเต้" วัตถุมงคลของ"มทร.ธัญบุรี"




การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ "สมเด็จพระปิยมหาราช" ทรงตระหนักว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัย 


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งสถาบันการ ศึกษาทั้งโรงเรียนในวัง โรงเรียนวัด โรงเรียนราษฎร์ มีการสนับสนุนคนที่มีความรู้ความสามารถให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงสถาบันการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ด้วย จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงมีคุณูปการต่อการศึกษาอย่างสูงยิ่ง



ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เมื่อพ.ศ.2547 มูลนิธิสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูˆหัว รัชกาลที่ 5 รุ่นเฉลิมพระเกียรติ ทรงฉลองพระองค์ชุดฮ่องเต้ เพื่อนำรายได้จัดสร้างพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย 



ล่าสุด มทร.ธัญบุรี ได้นำออกให้ประชาชนได้บูชาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำรายได้สมทบทุนจัดสร้างพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี เปิดเผยถึงแนวคิดในการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ว่า เพื่อจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีพระพุทธรูปเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างความดี 

สำหรับเหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ 5 รุ่นเฉลิมพระเกียรติ ทรงฉลองพระองค์ชุดฮ่องเต้ ได้แนวคิดจากพระบรมสาทิสลักษณ์ทรงฉลองพระองค์ชุดฮ่องเต้ ประทับบนบัลลังก์ ในพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ทางมูลนิธิจึงนำมาเป็นต้นแบบในการจัดทำเหรียญ โดยลักษณะเป็นโลหะรูปไข่ ขนาดกว้าง 2.7 ซ.ม. สูง 3.7 ซ.ม. มี 3 เนื้อ คือ ทองทิพย์ กะไหล่เงิน และกะไหล่สามกษัตริย์ โดยได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดพระขาว จ.พระนคร ศรีอยุธยา อธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษ 

นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง ณ อุโบสถวัดเขียนเขต จ.ปทุม ธานี เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2549 พระเกจิอาจารย์ดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน พระอาจารย์สมชาย วัดปริวาส กทม. พระราชปริยัตยาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และหลวงพ่อวิเชียร เจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม เป็นประธานจุดและดับเทียนชัย 

หลังจากนั้นเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค.2552 ทาง มทร.ธัญบุรี ได้นำเหรียญที่ระลึก ร.5 ทรงฉลองพระองค์ชุดฮ่องเต้ ที่ยัง เหลืออยู่คือเหรียญเนื้อกะไหล่สามกษัตริย์ ไป ขอความเมตตาจากหลวงพ่อรวย วัดตะโก และหลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว 2 เกจิดังแห่งเมืองกรุงเก่า อธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษอีก 2 วาระ เพื่อให้ผู้โชคดีที่ได้สักการบูชาเหรียญนี้มีโชคดียิ่งๆ ขึ้นไป 

ภาพการอธิษฐานจิตปลุกเสก โดยหลวงปู่ทิม วัดพระขาว และพระ

เกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณอีกหลายท่าน ที่เมตตาต่อทางมูลนิธิ


หลวงปู่ทิม วัดพระขาว เมตตานั่งอธิษฐานจิต บนรถตู้ของมูลนิธิ ที่วัดพระขาว
ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
โปรยดอกไม้มงคลบนเหรียญที่ระลึก
ประมวลภาพพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดเขียนเขต ปทุมธานี ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙
ในพระอุโบสถ วัดเขียนเขต (พระอารามหลวง) จ.ปทุมธานี
พระพิธีธรรม
หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
ท่านเจ้าคุณ วัดมูลจินดาราม จุดเทียนชัย
เจ้าคุณเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา
หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อยุธยา
หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติฯ อยุธยา
ท่านเจ้าคุณวัดเขียนเขต
ท่านเจ้าคุณสมชาย วัดปริวาส กทม.
ประกอบพิธีดับเทียนชัย