วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม วัดเกริ่นกฐิน


     หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม หรือ พระครูวิมลสมณวัตร เป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสของเมืองลพบุรี อายุครบ 78 ปี เมื่อปีที่ผ่านมา 

      เจ้าตำรับสุดยอดเครื่องรางของขลัง ตะกรุดโทน และ ผ้ายันต์แดง เสือ สิงห์ ที่ มีประสบการณ์พุทธคุณกล่าวขานเลื่องลือกันไปทั่ว ทั้งในด้านเมตตา ค้าขาย ปกป้องคุ้มภัย มหาอุด และคงกระพันชาตรี 

       เรื่องราวชีวิตและบทบาทของท่านนับว่าน่าสนใจ เพราะเป็นพระของชาวบ้านโดยแท้ 
ประวัติ หลวงพ่อเพี้ยน เกิดในสกุล ยอดวัด เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล พุทธศักราช 2470 ที่บ้านเกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 
ชีวิตในวัยเยาว์ หลังจบการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นก็ช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบอาชีพทำนา จวบกระทั่งถึงวัยแห่งการครองเรือน แต่ภายหลังเกิดความเบื่อหน่าย จึงหันหน้าเข้าสู่เส้นทางธรรม 
        ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2519 ณ พัทธสีมาวัดกำแพง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมีหลวงพ่อเจือ เจ้าอาวาสวัดกำแพง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อคฺคธมฺโม มีความหมายว่า ผู้มีธรรมอันยอดเยี่ยม ภาย หลังเข้ารับการอุปสมบท ได้ย้ายไปพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน เพื่อบำเพ็ญสมณกิจ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา และได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อปาน เจ้าอาวาสวัดเกริ่นกฐิน ในยุคนั้น 
      รวมไปถึงการได้ทบทวนสรรพวิชาเข้มขลังจากแผ่นดินกัมพูชา ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากโยมบิดาของท่าน  สำหรับหลวงพ่อปาน พระเกจิเรืองอาคม เป็นพระภิกษุที่สัญจรมาจากประเทศกัมพูชาเช่นกัน
        ซึ่งหลวงพ่อปานได้กล่าวเน้นย้ำเป็นการเตือนสติอยู่เสมอว่า คนเราจะทำการใดๆ ต้องมีจิตที่มุ่งมั่น ตั้งใจในการศึกษา หัวใจของการศึกษาวิชาอาคมให้บังเกิดผล ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ จะต้องเริ่มที่สติ เมื่อสติมั่นคงก็จะบังเกิดเป็นสมาธิ สมาธิจะทำให้เกิดปัญญา สามารถทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อถึงขั้นนั้น จะทำสิ่งใดๆ ย่อมได้ผลดังนั้น เมื่อท่านได้ฝึกจิตตามแนวทางของหลวงพ่อปาน ทำให้การเรียนด้านวิชาอาคม บังเกิดความก้าวหน้า และได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านที่ประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัดต่างๆ นานา โดยท่านได้ใช้อำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ รวมทั้งวิทยาคม ใครถูกคุณไสยมนต์ดำ อวิชชาชั้นต่ำไสยมนต์ดำ อวิชชาชั้นต่ำ สรรพวิญญาณดุร้ายเข้าสิงร่าง ใช้มนต์คาถากำราบ ใครเจ็บป่วยเป็นไข้ป่า ใช้ยาสมุนไพรรักษา สามารถพลิกผันเปลี่ยนขาวเป็นดำ บำบัดปัดเป่าเคราะห์ร้ายได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ ชื่อเสียงร่ำลือระบือไกล 


        ปี พ.ศ.2521 วัดเกริ่นกฐิน ร้างเจ้าอาวาสปกครอง ญาติโยมได้พากันไปร้องต่อพระผู้ใหญ่จังหวัดลพบุรี ขอให้แต่งตั้งหลวงพ่อเพี้ยน เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งได้รับการตอบสนองตามคำร้องขอเป็นอย่างดีภายใต้การปกครองดูแลวัดเกริ่นกฐิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงปัจจุบัน 
        วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเพี้ยนไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ดำรงตนอย่างสมถะ เป็นพระชาวบ้านธรรมดา แต่ว่าเข้าถึงจิตใจคนทุกระดับชั้น ไม่มีการเลือกชั้นวรรณะของผู้ที่ขอเข้าไปกราบนมัสการ 
        หลวง พ่อเพี้ยน ได้ย้อนอดีตถึงปฐมเหตุแห่งการเป็นพระผู้เสก ว่า ในคราแรก เลือกมาพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน ที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา เพื่อปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อปาน ที่กำชับเอาไว้ 
        สิ่งที่เริ่มต้น คือ การเจริญภาวนาทำให้เกิดจิตที่มั่นคง เป็นสมาธิ วันหนึ่ง ในราวพรรษาที่ 3 ท่านมีกิจนิมนต์ ต้องเดินทางจากวัดไปยัง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี โดยเส้นทางจากหมู่บ้านเกริ่นกฐิน สู่ถนนสายหลักท่าโขลง-บ้านหมี่ ห่างไกลพอสมควร จำต้องเดินผ่านทุ่งนา ในบางช่วงต้องเดินผ่านป่าละเมาะ สองฟากทางรกทึบมาก หลวงพ่อเพี้ยน เดินทางออกจากหมูบ้านเกริ่นกฐินเพียงเล็กน้อย ได้พบเห็นการกระทำของโจรร้ายกำลังปล้นชิงทรัพย์ของชาวบ้าน แต่เจ้าทรัพย์ ต่อสู้ขัดขืน จึงถูกคนร้ายใช้มีดแทงจนถึงแก่ความตาย ไปต่อหน้าต่อตา ท่านบังเกิดความเวทนาต่อชาวบ้านผู้เคราะห์ร้ายเป็นยิ่ง นัก เมื่อเดินทางกลับวัด ได้ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้ความคิดว่า หากชาวบ้านผู้นั้นมีวัตถุมงคลคุ้มครองป้องกันตัว อาจแคล้วคลาดภยันตรายได้อย่างแน่นอน ความคิดดังกล่าว ทำให้หลวงพ่อเพี้ยน มุมานะในการพลิกฟื้นตำรา ทั้งของโยมบิดาและหลวงพ่อปาน ที่ได้กำชับถึงหัวใจแห่งการร่ำเรียนวิชา โดยเฉพาะพระคาถาอาคม เมื่อรำลึกถึงคำสอน หลวงพ่อจึงเร่งในการภาวนาจิตอย่างจริงจัง และเริ่มทำการจัดสร้างของขลังเป็นครั้งแรก เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่ใกล้ชิดเอาไว้เพื่อเป็นการป้องกันและคุ้มครองตัว เอง
          ได้แก่ "ตะกรุดโทน" กว่าจะสำเร็จเป็นตะกรุดโทน มิใช่เรื่องง่ายดาย แผ่นโลหะแต่ละแผ่น เมื่อได้จารอักขระเลขยันต์ตามตำรับ กว่าจะบรรลุเป้าหมายถึงขั้นนำไปใช้ได้ ต้องผ่านขั้นตอนพิธีกรรมอันสำคัญ คือ การจารตะกรุดใต้น้ำ หลวงพ่อเพี้ยนจะต้องดำลงใต้น้ำ เพื่อทำการจารอักขระ ซึ่งเป็นหัวใจของพระคาถาด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี 
           ตะกรุดโทนหลวง พ่อเพี้ยน สร้างประสบการณ์ลือลั่นท้องทุ่งบ้านหมี่ รวมทั้งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในหมู่นักนิยมสะสมวัตถุมงคลของขลัง แต่ปัจจัยจากการเช่าบูชาทุกบาททุกสตางค์ หลวงพ่อไม่เคยนำเข้าพกเข้าห่อใช้จ่ายส่วนตัว แต่ท่านจะนำปัจจัยไปใช้ในด้านการพัฒนาวัดวาอาราม วัดเกริ่นกฐิน ในยุคหลวงพ่อเพี้ยน ปกครองเป็นเจ้าอาวาส ได้เกิดสิ่งใหม่ๆ มากมาย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อวดสายตาแก่ญาติโยม อาทิ ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ 2 ชั้น หอฉัน หอสวดมนต์ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ อุโบสถ เมรุ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ โดยตั้งกองทุนมาจากการสร้างพระกริ่งอัคคธัมโม และเหรียญบาตรน้ำมนต์ 
          หลวงพ่อเพี้ยน มิได้มุ่งเน้นการพัฒนาภายในวัดของท่านเพียงอย่างเดียว ยังมองไปถึงปัญหาของชุมชนอีกด้วย อาทิ ได้สร้างถนนลาดยางจากถนนสายหลักท่าโขลง-บ้านหมี่ เข้าสู่หมู่บ้าน นอกจากนี้ ในด้านการศึกษา ยังได้จัดสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดสระกระเบื้อง ใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านบาท อีกด้วย
          เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา หลวงพ่อเพี้ยน ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนาม พระครูวิมลสมณวัตรเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศ ณ วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา สร้างความปลาบปลื้มให้กับคณะศิษย์เป็นอย่างมากภายหลังเข้ารับการอุปสมบทได้ย้ายไปพำนักที่วัดเกริ่นกฐิน เพื่อบำเพ็ญสมณกิจ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา และได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อปาน เจ้าอาวาสวัดเกริ่นกฐิน ในยุคนั้น หลวงพ่อปานได้กล่าวเน้นย้ำเป็นการเตือนสติอยู่เสมอว่า คนเราจะทำการใดๆ ต้องมีจิตที่มุ่งมั่น ตั้งใจในการศึกษา หัวใจของการศึกษาวิชาอาคมให้บังเกิดผล ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ จะต้องเริ่มที่สติ เมื่อสติมั่นคงก็จะบังเกิดเป็นสมาธิ ทำให้เกิดปัญญา สามารถทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อถึงขั้นนั้นจะทำสิ่งใดๆ ย่อมได้ผล ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อเพี้ยนได้ฝึกจิตตามแนวทางของหลวงพ่อปาน ทำให้การเรียนด้านวิชาอาคม บังเกิดความก้าวหน้า และได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป เหรียญหลวงพ่อเพี้ยน รุ่นกฐิน จึงเป็นอีกเหรียญวัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธานิยมจากบรรดาเซียนพระเครื่อง ที่มีความเชื่อมั่นในพุทธาคมของหลวงพ่อเพี้ยนเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นเหรียญที่น่าเช่าหาบูชามาไว้ในครอบครอง


เหรียญหลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี รุ่นยันต์เก้ายอด จัดสร้างที่ระลึกสมทบทุนซื้ออุปกรณืการแพทย์ โรงพยาบาลบ้านหมี่ ปี 2547 


เหรียญท้าวเวสสุวรรณ ผดุงทรัพย์ ๘๓ รุ่นแรก วัดป่าแพ่ง ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่





ท้าวเวสสุวรรณ ผดุงทรัพย์ ๘๓ รุ่นแรก หลวงพ่อพระครูอุปถัมภ์ศาสนคุณ (ครูบาผดุง นนฺทโก) 
วัดป่าแพ่ง ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่



ท้าวเวสสุวรรณ รุ่นแรก "ผดุงทรัพย์ ๘๓"  เป็นเหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่นแรก ของหลวงพ่อพระครูอุปถัมภ์ศาสนคุณ หรือ ครูบาผดุง นันทโก วัดป่าแพ่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
                  พิธีมหาพุทธา-มหาเทวาภิเษก  ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งบนแผ่นดินเมืองล้านนา โดยมีพระเกจิอาจารย์มากมาย อาทิ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร) , ครูบาทอง วัดพระธาตุจอมทอง , ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน , ครูบาบุญมา สำนักปฎิบัติธรรมสันกลาง จ.ลำปาง , ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง จ.ตาก , หลวงพ่อลออ วัดบ้านไร่ จ.ลำพูน ฯลฯ 
                  ทั้งอธิษฐานจิตเดี่ยว และ พิธีมหาพุทธาภิเษก-มหาเถราภิเษก  2 วาระ เมื่อเวลา 14.00 และ 15.00 น. ที่วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 15 ก.ค 2555  พิธีเยี่ยม พุทธยอดเยี่ยมแน่นอน อนาคตไกล 










พิธีมหาพุทธา - เทวาภิเษก เหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่นแรก ผดุงทรัพย์ ๘๓ ช่วงเช้าเป็นการบวงสรวงและ เจริญพระพุทธมนต์แบบพิสดารที่เรียกว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น


พิธีมหาพุทธา - เทวาภิเษก เหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่นแรก ผดุงทรัพย์ ๘๓ ช่วงบ่ายเป็นการอธิษฐานจิตโดยครูบาอาจารย์­ต่างๆ





หลวงปู่ทวดครูบาจันต๊ะ ปี39


หลวงปู่ทวดครูบาจันต๊ะปี39 รุ่น2 ฝังตะกรุด มีประสบการณ์มาแล้วรุ่นนี้ในเรื่องของคงกระพันชาตรี
 อธิฐาน จิตเดี่ยว โดย ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล วัดหนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน ปี 2539 
มวลสาร -พระผงหลวงพ่อแดง ผงตะไบทองหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
 -เกษรดอกไม้108 ว่านต่างๆ กาฝากขนุน กาฝากมะรุม กาฝากชมพู่ 
-ผงหลวงพ่อทองคำ วัดท่าทอง อุตรดิษถ์ 
-ผงเผาใบลานเก่า ผงพระเก่า อิฐ กระเบื้องเก่า น้ำมนต์ วัดหนองช้างคืน 
-ผงหลวงพ่อเกษม ด้ายมงคลหลวงพ่อเกษม น้ำมนต์หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลัษณ์ จ.ลำปาง
 -ผงพระวัดห้วยทรายใต้ เพชรบุรี
 -ปูนเปลือกหอย


พระอธิการจันต๊ะ อนาวิโล

ครูบาจันต๊ะเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืน ท่านมีความเมตตาธรรมสูง มีความสามารถพิเศษในด้านการเทศน์ธรรมมหาชาติ กัณฑ์มัทรี และได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงว่าเป็นเกจิอาจารย์ในด้านเครื่องลางของขลัง วัตถุมงคล คาถาอาคมและยันต์ต่างๆเป็นต้น จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ในปี 2537 และปี 2542 ท่านได้สร้างพระเครื่องครั้งใหญ่ขึ้นโดยเป็นเนื้อผง พุทคุณ ได้แก่ พิมพ์ขุนแผน ขุนช้าง สังขจาย ล.ป.ทวด กลีบบัว และปิดตา วัตถุมงคลรุ่นนี้ต่อมาภายหลังได้รับความนิยมของในพื้นที่มาก โดยมีความโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะขุนแผนและขุนช้างนั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในเรื่องเมตตาและ มหาเสน่ห์โชคลาภ

พระผงหน้ากาก หลวงพ่อประสิทธิ์ บุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่


พระผงหน้ากากทอง หลังอัฐบริขาร 
ฝังตะกรุด โรงผงตะไบมวลสารศักดิ์สิทธิ์ 
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่

อริยสงฆ์แดนล้านนา
ที่มีข่าวลงหน้าหนึ่ง
กรณีเอ็กซ์เรย์แล้วมองไม่เห็นกระดูก
(ใสเป็นแก้ว)


จำนวนจัดสร้าง รวม 1,500 องค์ แบ่งเป็น
1. หน้ากากทอง 1,000 องค์
2. หน้ากากเงิน 500 องค์


เป็นพระผงแจกในงานคล้ายวันเกิดเมื่อ 5มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา แจก

เฉพาะพระที่ไปร่วมงาน เป็นเนื้อผงหน้ากากทองเหลืองและเงิน สร้างน้อยมาก


พระอาจารย์ ประสิทธิ์  บุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ลูกศิษย์สายกรรมฐานท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่ากันว่าท่านกระดูกหักแล้วไปเอกซ์เลย์ปรากฎว่ามองไม่เห็นเพราะกระดูกใสเป็น แก้วแล้ว ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ท่านดูแลและอุปถัมถ์วัดในจ.เชียงใหม่ 30-40 วัดได้ บารมีท่านมีมากๆ 


หลวงพ่อท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน


ท่านเป็นหลานแท้ๆของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่จนสิ้น ก็ไปเป็นศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน ปรนนิบัติจนหลวงปู่สิ้น ลูกศิษย์นิมนต์ให้ไปอยู่เชียงใหม่ สร้างวัดป่าหมู่ใหม่ครับ ท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อปี 2545 หลวงพ่อเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ แขนขององค์หลวงพ่อไถลไปกับพื้น ลูกศิษย์พาไปโรงพยาบาลสวนดอก เอ็กซเรย์ ปรากฎว่า ภาพดำไปหมด(ส่วนที่แข็งจะเป็นสีขาว)หมองง เอ็กซเรย์ใหม่ เหมือนเดิม แสดงว่ากระดูกใสเป็นแก้ว(พระธาตุ)ไปแล้วครับ ฮือฮากันทั้งโรงพยาบาลสวนดอก


วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องของ พุทธคุณ


เรื่องของ พุทธคุณ 

เรื่องพุทธคุณที่เกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง มีวันเสื่อมหรือไม่นั่นตอบไม่ได้ สมัยเด็กๆ ผู้ใหญ่จะสอนว่าเมื่อแขวนพระแล้วอย่ามุดใต้ถุน, ห้ามลอดราวตากผ้า ห้ามเข้าซ่อง ฯลฯ พระจะเสื่อม แต่พอโตขึ้นมาจำได้ว่าเคยฟังพระท่านเทศหรืออ่านหนังสือก็ไม่แน่ใจ ท่านกล่าวไว้ว่า พุทธคุณในองค์พระที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษก ก็เหมือนกับกระแสไฟมีพลังงานในตัว ผู้ที่นำไปใช้ก็เหมือนสื่อ ถ้าประพฤติปฏิบัติดี เป็นคนดี ก็สามารถรับพลังนั้นได้อย่างเต็มที่ (พุทธคุณคุ้มคอรง) แต่ถ้าปฏิบัติตัวไม่ดี ก็จะไม่สามารถรับพลังงานที่ส่งมาได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าคนดีได้พระดีคุ้มครอง ส่วนคนไม่ดีถึงได้พระดีก็คุ้มครองไม่ไหว (จะพบตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ )
.การปฏิบัติตัวเมื่อคล้องพระ ที่จริงพระที่พระเกจิอาจารย์ทั้งหลายท่านสร้างขึ้นมา ตามความคิดของผม แบ่งออกเป็น ๔ ความมุ่งหมายคือ
- เพื่อสืบทอดศาสนา (จะนำไปฝังไว้ในกรุ (ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ฐานพระประธาน หรือไม่ก็ในเจดีย์)
- เพื่อเป็นกุสโลบายไม่ให้คนคิดทำชั่ว เป็นการเตือนสติให้รู้จักใช้ปัญญาคิดพิจารณาก่อนจะกระทำการใดๆ ทั้งที่ดีและไม่ดีก็ตาม (อารธนาพระก่อนสอบ, ก่อนขับรถ แขวนพระแล้วไม่เข้าไปในที่อโคจร เป็นต้น)
- เพื่อขวัญและกำลังใจในทางการค้า (ประเภทเมตาตา)
- เพื่อทำให้มีขวัญกำลังใจ ฮึกเหิม ในการปฏิบัติงานราชการสงคราม (ศึกบางระจัน, ๓ จังหวัดชายแดน)

ของที่ปลุกเสกมาอย่างดี ไม่มีวันเสื่อม ขนาดพระแตกหักแล้วจะนำไปเป็นมวลสารสร้างพระใหม่ พระเกจิท่านยังต้องทำพิธีก่อน ก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกศิษย์เอาไปตำหรือบดผสม

พุทธคุณไม่มีเสื่อมครับ นอกจากจะไม่นับถือ ไม่แสดงความเคารพนั่นแหล่ะถึงเสื่อมสำหรับคนคนนั้น

ทุกอย่างอยู่ที่ใจครับ เราเคารพนับถือครูบาอาจารย์ ก็ถือว่าเรายึดมั่นใจวัตถุมงคลนั้นเเล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ย่อมเกิดครับ



สาเหตุที่พระเสื่อม


คงจะเคยได้ยิน ได้เห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับคนที่ห้อยพระเต็มคอ สักยันต์เต็มตัว ตระกรุดรอบเร็ว โดนยิงตายบ้าง แทงใส้ทะลักบ้าง
หลายคนอาจสงสัย พระเสื่อมหรือเปล่า ? พระเก๊รึเปล่า ?
สาเหตุเป็นแบบนี้ครับ
เวลาปลุกเสกพระ ท่านก็เชิญคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ มาเหมือนๆกัน ฉะนั้นเมื่อไปลบหลู่คุณของท่านเหล่านั้น มันก็เท่ากับเราลบหลู่ครูบาอาจารย์ของเราด้วย
ห้ามคนแขวนลบหลู่บุพการี (คือพ่อแม่) ของตัวเอง และคนอื่น ห้ามลบหลู่ครูบาอาจารย์ของคนอื่น ถ้าทำได้อย่างนี้พระนั้นขลังจริง
> การด่า ในใจ หรือออกเสียงอะไรก็แล้วแต่ เช่น …แม่ พ่อ…. อะไรทำนองนี้ ตามที่ติดปากวัยรุ่นในปัจจุบัน
> ติดวัตถุมงคลไปใน ซ่อง หรือ สถานบริการ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ
> ติดวัตถุมงคลระหว่าง กามกิจ หรือ เพศสัมพันธ์
ไม่ใช่แค่พระเท่านั้น วัตถุมงคลต่างๆ ทุกชนิดด้วย ไม่ว่าของอาจารย์ไหน หลวงพ่อที่ไหน
หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ท่านว่ามาแบบนี้


ที่มา: http://watwangdong.com/150-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1.html


พระเครื่อง เสื่อมได้ไหม

ถ้าการปลุกเสกพระเครื่องรางวัตถุมงคล คือ 
การที่พระภิกษุ หรือ คนผู้ทำพิธี ขออำนาจของพระรัตนตรัย
ขออำนาจของภูตผี เทพพรหม
ตลอดจนอำนาจของครูบาอาจารย์ และของตนเอง
ประจุพลังงานลงในพระเครื่องรางของขลังต่างๆ

ก็ในเมื่อผู้ปลุกเสก
ยังเป็นผู้ที่ยังไม่เที่ยง
ย่อมไม่อาจทำให้พลังงาน นั้นเที่ยงได้

พลังงานที่อยู่ในวัตถุมงคลต่างๆ
ย่อมเสื่อมลงได้ เพราะอยู่ภายใต้ความไม่เที่ยง
ทั้งจากการเสื่อมลงเอง ตามกาลเวลา
จากการเสื่อมความดี ของผู้ใช้
จากพลังงานอื่น ที่มาแทนที่ หรือแปรเปลี่ยน จากรูปเดิมไป

แต่ ไม่ว่ากรณีใดๆ

พระ คือ 

พระพุทธเจ้าไม่มีเสื่อม
พระธรรมไม่มีเสื่อม
พระอริยสงฆ์ไม่มีเสื่อม

แต่คนเรานี่สิ เสื่อม

จึงได้บอกว่าพระเสื่อม

เมื่อคนเราเสื่อมจากคุณความดีเสียแล้ว พระ หรือ ใครที่ไหน จะรักษา

ก็กรรมที่เราทำนั้น ย่อมตามเราดุจเงาตามตัว
รอเวลาที่จะให้ผล ตามเหตุปัจจัยเท่านั้น

แต่เมื่อเรารักษาคุณความดี ความดีนั่นแหละที่จะรักษาเรา
กรรมที่เราทำดี ย่อมส่งผลให้เราได้ผลที่ดี

ธรรม ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรม ก็คือ ธรรมชาติ
ผู้ปฏิบัติดีตามธรรมชาติ ย่อมได้รับผลดีตามธรรมชาติ นั่นเอง

พระพุทธเจ้า เข้าถึงธรรมชาติ
จึงนำธรรมชาตินั้น มาสอน
สอนให้ เข้าถึงธรรมชาติ
จนกลายเป็น ธรรมชาติ 
และกลับสู่ ธรรมชาติ

แต่คนเรา ทำผิดธรรมชาติ
จึงได้รับผลสะท้อนของธรรมชาติ
แล้วก็พากันโทษธรรมชาติ
ทั้งที่ตนนั้นก็อยู่ในกฏแห่งธรรมชาติเหมือนกัน

ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย กับเหรียญที่ดีที่สุดในยุคกึ่งพุทธกาล


 

เหรียญครูบาศรีวิชัย หลัง ภปร. วัดบุพพาราม ปี2527 ที่ระลึก 50 ปี ถนนศรีวิชัย รำลึก

ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย กับเหรียญที่ดีที่สุดในยุคกึ่งพุทธกาล


อันที่จริงคำว่า “ครูบาเจ้า” นั้นโดยศัพท์ทางวิชาการของภาคเหนือจะใช้เรียกพระเถระผู้พร้อมด้วยคุณธรรมนานาประการ เช่น วัยวุฒิ คุณวุฒิ และที่สำคัญต้องมี ‘เชื้อ’ จะเป็นเชื้อเจ้าเชื้อพระวงศ์หรือสมศักดิ์อันสูงก็ดี ล้วนแต่ให้ใช้คำว่า “ครูบาเจ้า” นำหน้าชื่อได้ทั้งสิ้น นอกนั้นแล้วใช้ได้แค่ ‘ครูบา’ เฉย ๆ 

เว้นไว้เพียงครูบาเจ้าศรีวิไชยเพียงองค์เดียว

img047.jpg


แม้ท่านมิได้ถือกำเนิดในตระกูลอันสูงและมิได้ถือครองสมณศักดิ์ที่ลอยเด่นเป็นสง่าแต่อรรถธรรมในดวงใจท่านสูงล้ำเลอค่าเสียยิ่งกว่าสิ่งที่สังคมชาวโลกยกย่องโปรดปราน ด้วยความดีที่ท่านสั่งสมอบรมมา ด้วยน้ำใจที่งดงามเบิกบานไปกับการยินดีในทานบารมี ด้วยเมตตาที่มีต่อสรรพชีวิตแม้กระทั่งคนที่มุ่งเอาชีวิตท่าน ท่านก็มิได้ถือโทษโกรธเคือง คงแผ่เมตตาไปทั่วหน้ากันอย่างไม่มีประมาณ

เพราะคุณสมบัติต่าง ๆ ที่พร้อมแล้วในองค์ท่านดังนี้ จึงไม่ต้องรอทางการให้แต่งตั้งอะไร ชาวเหนือทั้งหลายก็พร้อมใจกันยอยกท่านเป็น “ครูบาเจ้า” ของพวกเขาตลอดมา
และจะตลอดไป...

ดังที่รู้กันไปทั่วว่าครูบาศรีวิไชยนั้นโปรดการสร้างและซ่อมเสนาสนะ สถูป วิหาร ลาน เจดีย์ ฯลฯ อยู่เสมอ ไม่ว่าที่ไหน จะนิมนต์หรือไม่ หากท่านเห็นควรที่จะซ่อม-สร้างแล้ว ท่านก็ไม่รีรอที่ลงมือทำทันที

ด้วยเหตุนี้ตลอดชีวิตของท่านจึงไม่ค่อยได้ข้องแวะกับกิจอันนอกเหนือไปจากงานนว-กรรมคือการก่อสร้างเลย แม้ใคร ๆ จะเคารพท่านมากมายจนอยากได้เครื่องมงคลของท่าน ได้ยินมาว่าก็เหลวกันเสียหมด อีกกระแสก็ว่า ‘เหรียญข้างบัว’ นั้นแลที่ทันชนม์ชีพ ซ้ำท่านยังได้อธิษฐานจิตปลุกเสกให้เสียอีกด้วยมิได้ทำหลังท่านมรณภาพ... นี้ก็ว่ากันไป

ถ้าพูดถึงพระเครื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยหลังเมื่อท่านวายชนม์แล้วเป็นอันว่าต้องได้คุยกันยาว เพราะเริ่มแต่ท่านมรณภาพพระเครื่องในท่านก็ถือกำเนิดทันทีที่งานเผาศพ เป็นเหรียญที่รู้จักกันดีในนาม ‘เหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ. 2482’

จากนั้นก็เป็น ‘พระเกศาครูบาศรีวิไชย’ ซึ่งเป็นพระผงคลุกรักผสมเส้นเกศา มีทั้งพิมพ์พระรอดและพระคง ทั้งว่ากันว่ายังมีอีกมากหลากพิมพ์แต่คนทั่วไปไม่ค่อยได้พบจึงไม่รู้จัก ปล่อยให้นักนิยมพระชาวเหนือผู้รู้ตื้นลึกหนาบางคว้าไปนอนกอดอย่างน่าอิจฉาเป็นที่สุด

อันว่าดอยสุเทพกับเมืองเชียงใหม่ดูจะเป็นของคู่กัน คู่กระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไปโดยปริยาย มิหนำยังกลายเป็นคำขวัญและคำขู่ควบคู่กันว่า ไปเชียงใหม่ถ้าไม่ได้ขึ้นดอย สุเทพก็เหมือนไปไม่ถึงเชียงใหม่


การขึ้นดอยสุเทพในสมัยปี พ.ศ. 2460 นั้นนับได้ว่าเป็นการยากลำบากอย่างที่สุด คนที่มีศรัทธาแก่กล้าจริง ๆ เท่านั้นจึงจะสามารถปีนป่ายหนทางอันลาดชันและรกเรื้อเพื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุดอยสุเทพได้ ยุคนั้นหากมีอายุอยู่ในวัยหนุ่มสาวการขึ้นดอยที่ต้องปีนหน้าผาและโหนเถาวัลย์จะใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงจึงถึงยอดดอย หากเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ก็ทำได้เพียง...

ฝากกราบ

ต่อมาไม่นานคุณหลวงศรีประกาศข้าหลวงเมืองเชียงใหม่ก็แสดงเจตนารมณ์ว่าเห็นสมควรเดินสายไฟเพื่อนำไฟฟ้าไปติดบนยอดพระเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา หากครูบาเจ้าแสดงเจตนาที่แน่วแน่ไปกว่านั้นด้วยการประกาศสร้างทางขึ้นดอยเลยทีเดียว

ปรารภในพระครูบาเจ้าศรีวิไชยนั้นเป็นดั่งกลองมโหระทึกที่กระหน่ำตีตลอดวันคืนอย่างไม่ยั้ง จากปากต่อปากแพร่สะพัดข่าวไปแสนไกลดุจไฟลามทุ่ง ข่าวที่สร้างความศรัทธาตื่นเต้นถึงขีดสุดและสร้างความฉงนอย่างถึงใจแก่ชาวบ้านไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ในปี พ.ศ. 2460 พระมหาอุปราชแห่งมณฑลพายัพคือ พระองค์เจ้าบวรเดช ได้มีรับสั่งจะสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการสร้างแล้วตกเป็นเงินถึงสองแสนบาทซึ่งหากเปรียบกับยุคนี้ก็หนีไม่พ้น 25 ล้านบาทแน่นอน

พระองค์เจ้าบวรเดชจึงทรงล้มโครงการนี้ไป แม้ภายหลังจะมีผู้คิดทำอยู่บ่อยครั้งก็ไม่เห็นมีผู้ใดจะทำได้ ด้วยติดที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลนี่เอง

แล้วครูบาศรีวิไชยจะเอาปัจจัยมาจากไหน ?

ทว่าเมื่อครูบาเจ้ามีประสงค์จะแผ้วทาง แม้เสียงพูดของท่านจะดังพอฟังกันเพียงสองสามคนในกลุ่ม หากกลับกระหึ่มก้องและมีการตอบรับเสียงปรารภของครูบาสนั่นหวั่นไหว บรรดาผู้เลื่อมใสในองค์ท่านที่มีปัจจัย พากันเร่งพิมพ์ใบปลิวเชิญชวนศรัทธามหาชนทั่วภาคเหนือมาร่วมสร้างมหาบารมีกับท่านเป็นจำนวนถึง 5 หมื่นใบปลิว

จากนั้นก็เป็นการบอกข่าวอย่างปากต่อปาก มหาชนทั่วมณฑลอุดร 5 จังหวัด มีจอบคว้าจอบ มีเสียมคว้าเสียม มีมีดคว้ามีด อาหารการกินต่างพากันขนของสดของแห้งแบกกันมาเอง มาเพื่อร่วมลงขันสร้างบุญใหญ่กับครูบาศรีวิไชย

ถนนทุกสาย รอยเท้าทุกรอย ล้วนมุ่งหน้าสู่ดอยสุเทพราวกับมดปลวก ข้างผู้ชายครั้นมาถึงก็ตรงเข้าถางทางดายหญ้าเป็นโกลาหล ทุบไม้ ตีหิน กันสนั่นลั่นไป หากพลาญหินมีขนาดใหญ่ท่านก็ให้เอาผ้าชุบน้ำมันควั่นเป็นแนวตามที่จะตัดแล้วจุดไฟ เมื่อหินร้อนจัดก็ราดน้ำแล้วทุบออกหินก็จะขาดเป็นบริเวณตามที่กำหนด

ข้างผู้หญิงและเด็กก็เข้าเพิงเข้าที่ พากันหุงข้าวต้มแกงหม้อใหญ่เลี้ยงคณะศรัทธาที่ขนเอาปัจจัยและอาหารนานาชนิดมาทำบุญ ทั้งยังเป็นกำลังหลักในการทำอาหารให้พระ-เณร และกองช่างอาสาทุกคน ว่ากันว่าอาหารสดอาหารแห้งประดามี ทั้งข้าวสารหอมกระเทียมกะปิน้ำปลา ล้นหลามจนผู้มาทำบุญต้องได้เข้าของติดมือกลับไปทุกคน

กล่าวคือเอาสิ่งนี้มาทำทาน พวกโรงทานก็ให้สิ่งนั้น สิ่งโน้นที่ขาดแคลนกลับไป บางพวกเอามาไม่เท่าไรด้วยยากจนข้นแค้น ครั้นเดินทางกลับก็ได้อาหารติดไม้ติดมือไปมากกว่าขามาเสียอีก เห็นอานิสงส์ในการที่พากันสร้างทานบารมีทันตาไม่ต้องรอชาติหน้าด้วยบุญญาภินิหารในองค์ครูบาเจ้าศรีวิไชยโดยแท้

คณะศิษย์นำโดย พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ เป็นผู้ทำพิธีลงจอบแรกเพื่อเบิกฤกษ์ ตามด้วย หลวงศรีประกาศ เจ้าราชภาคินัย ขุนกันชนะนนท์ นายศรีเรือง ตนะพงษ์ และ เถ้าแก่โหงว เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 เวลา 10.00 น. 

ต่อนั้นก็ลงมือกันอย่างสามัคคีแข็งขันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เบียดเสียดเยียดยัดแย่งกันทำจนแทบจะไม่มีที่ให้เหวี่ยงจอบลงเสียม เห็นจะเป็นด้วยความเคารพในองค์ครูบาเจ้าและเชื่อมั่นแน่นแฟ้นในบุญกุศลนั่นเองที่เป็นพลังสำคัญ

ส่วนครูบาเจ้าศรีวิไชยนั้นเล่าก็เป็นผู้นำบัญชาการแผ้วทางไปแนวนั้นทิศนี้ตามความชำนาญในเชิงช่างของท่าน ครั้นว่างจากงานโยธาก็มุ่งหน้ามารับคณะศรัทธาที่แห่แหนกันเดินทางมามืดฟ้ามัวดินเพื่อกราบไหว้ครูบาและมาช่วยงาน 

ท่านต้องนั่งรับแขกอยู่อย่างนั้น เดี๋ยวคณะนี้ไป เดี๋ยวคณะนั้นมา เสียงให้พรยถาสัพพี ฯ จากปากท่านดังอยู่ไม่ขาดระยะ

ในเหตุการณ์ตอนนี้แม้องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งจาริกไปแสวงธรรมยังเมืองเชียงใหม่ ก็ได้มาพบกับครูบาศรีวิไชยขณะสร้างทาง ได้รู้ได้เห็นในขันติปรมัตถบารมีที่ครูบาได้กระทำบำเพ็ญอย่างอุกฤษณ์ ด้วยการนั่งรับแขกทั้งวันโดยมิได้เปลี่ยนอิริยาบถลุกไปไหนเลย แม้ท่านจะเป็นโรคริดสีดวงทวารที่สร้างความทรมานให้ท่านเป็นอย่างมากก็ตามที

ถึงตรงนี้ท่านพระอาจารย์มั่นได้ปรารภว่า “ท่านครูบาศรีวิไชยเป็นผู้มากด้วยขันติธรรมโดยแท้เป็นเราคงทำไม่ได้อย่างท่าน”

ก็ด้วยความอดทนอันเป็นตบะอย่างยิ่งของทั้งศิษย์และอาจารย์นี้เอง เป็นเหตุให้ถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพอันใคร ๆ ก็ไม่อาจนึกฝันว่าจะแล้วเสร็จลงได้ ก็สามารถสำเร็จสมประสงค์ของครูบาและปวงศิษย์ได้อย่างหมดจดเมื่อวันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478 รวมระยะเวลาในการสร้างทางได้ 5 เดือน 22 วัน

การณ์นี้ยังความมหัศจรรย์ใจให้กับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและประชาชนทั่วไปยิ่งนัก แม้แต่หลวงศรีประกาศเองยังตกตะลึงไม่นึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความจริง เพราะตนคาดการณ์ไว้ว่าอย่างน้อยถนนสายนี้ต้องใช้เวลาสร้างอย่างต่ำที่สุดคือ 

8 เดือน !!

และในวันที่ 30 เมษายน นั้น ก็ถือเป็นวันสำคัญในการเปิดเส้นทางเป็นครั้งแรก โดยเถ้าแก่โหงวนำรถเก๋งส่วนตัวมารับครูบาศรีวิไชยจากตีนดอยแล่นขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นการนำฤกษ์ ถือเป็นมหามงคลแก่ประชาชนยิ่งนัก

อันผลงานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าและบุญคุณแก่ลูกหลานชาวไทยซึ่งครูบาเจ้าศรีวิไชยได้ทำไว้นั้น สิริรวมผลงานหลักที่ทั้งสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ได้ 51 แห่งด้วยกัน ทว่า ผลงานที่อาจเรียกได้ว่าเป็นโบว์แดงคือ การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนี้เอง เพราะเป็นมงคลสถานที่ใคร ๆ ต่างก็ต้องมาพึ่งพาอาศัยเพื่อขึ้นไปนมัสการองค์ธาตุจึงทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญคือ

เป็นงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตท่าน

เมื่อครูบาสร้างทางเสร็จในปี 2478 ท่านก็ถูกจับกุมเข้ากรุงเทพอีกครั้ง เมื่อพ้นมลทินได้กลับมายังวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ท่านก็อาพาธหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ท่านก็ได้เรียกศิษย์เข้ามาพร้อมกันแล้วสั่งความให้ช่วยกันสร้างสิ่งที่ท่านดำริไว้และภายในหนึ่งชั่วโมงนี้ท่านจะต้องลาทุกคนไปแล้ว เมื่อท่านมรณภาพให้เอาน้ำผึ้งหนึ่งขวดกรอกศพท่านไว้เพื่อรักษามิให้เน่าเปื่อยไปก่อนเวลาอันควร เพราะท่านเชื่อว่าคณะศิษย์จะต้องเก็บสรีระท่านไว้นาน

จากนั้นท่านก็สำรวมกิริยาและผ่อนลมหายใจลงจนประหนึ่งคนนอนหลับ ศิษย์ที่จับตาดูอาการอยู่ก็พบว่าที่สุดแล้วครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้มรณภาพทิ้งขันธ์ไปเมื่อเวลาเที่ยงคืนห้านาที แล้วเสียงร่ำไห้ก็ระงมขึ้นจนทั่วหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นการไว้อาลัยที่ยิ่งไปกว่าวาจาใด ๆ ...

ดังกล่าวแล้วว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ครูบาศรีวิไชยไม่ใคร่ข้องแวะกับวัตถุมงคลแต่อย่างใด อาจไม่ใช่เพราะท่านไม่ชอบ แต่คงเป็นเพราะไม่มีเวลาให้กับการนี้มากกว่า ดังนั้น เมื่อท่านมรณภาพ ด้วยความอาวรณ์ที่ประชาชนมีต่อท่าน จึงได้พากันสร้างของที่ระลึกขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของท่าน เป็นอนุสรณ์แก่คุณงามความดีของท่าน ก็ด้วยความเคารพเป็นล้นพ้นนั้นเอง

แต่เหรียญทั้งหลาย พระผงทั้งปวง ไม่มีใครยืนยันที่มาได้อย่างชัดเจน แม้มีข้อมูลแต่ก็ขาดหลักฐานพอจะย้ำน้ำหนักให้เอนเอียงไปข้างจะเชื่อได้ ทว่ามีอยู่เหรียญหนึ่ง ที่ตลอดการสร้างบริสุทธิ์ชัดเจน และมีพิธีกรรมซึ่งถูกต้องเป็นที่สุด อีกทั้งครูบาอาจารย์ที่มาร่วมเสกก็เป็นศิษย์ในท่านครูบาศรีวิไชยเกือบทั้งหมด ไม่ต้องสงสัยว่าการอธิษฐานจิตปลุกเสกจะหนักแน่นมั่นคงขนาดไหน จะเชื้อเชิญดวงวิญญาณและมหาบารมีในองค์พระครูบามาได้หรือไม่ ผมไม่สงสัยเลยจริง ๆ กับเหรียญ...

50 ปีถนนศรีวิไชยรำลึก

เนื่องจากวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 จะเป็นวันครบรอบ 50 แห่งการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพที่ภายหลังได้ใช้ชื่อทางว่า “ถนนศรีวิไชย” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พระครูบาเจ้าในฐานะประธานการสร้างที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น คณะกรรมการของศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม ถ.ท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก็ได้มีมติตรงกันว่าเห็นควรจัดงาน “วันกตัญญู เชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภช 50 ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิไชย” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูบาศรีวิไชยและบรรพชนที่เสียสละกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ ทำการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญมั่นคง

โดยได้มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติคุณให้แก่ทายาทของบุคคลผู้นำสำคัญในการสร้างทางครั้งนั้นตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติเป็นเอกฉันท์แล้ว ได้แก่

1. ครูบาศรีวิไชย สิริวิชโย
2. ครูบาเถิ้ม โสภโณ
3. ครูบาบุญมา สุนทโร
4. เจ้าแก้วนวรัฐ ณ เชียงใหม่
5. อำมาตย์เอก พระยาอนุบาลพายัพกิจ
6. หลวงศรีประกาศ
7. หลวงอนุสารสุนทร
8. พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์
9. พญาไชยธาตุ
10. ขุนกันชนะนนท์
11. ขุนเปาเปรมประชา
12. นายโหงว เตียวเมี่ยงไถ่

โดยคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดหาทุนด้วยการสร้างรูปเหมือนครูบาศรีวิไชย ให้ประชาชนสักการะและเช่าบูชา ดังต่อไปนี้

1. รูปเหมือนครูบาศรีวิไชยแบบอนุสาวรีย์ ขนาดเท่าองค์จริงเทด้วยทองเหลืองในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ มือซ้ายถือพัดขนนกยูง มือขวาถือไม้เท้า

2. รูปเหมือนครูบาศรีวิไชยแบบบูชาอิริยาบถเดียวกัน ขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ทำจากซิลิก้าผสมด้วยผงเกสรดอกไม้ 108 และผงพุทธคุณทั้ง 5 ทาทองบรอนซ์

3. เหรียญรูปไข่ มี 2 ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่กับพิมพ์เล็ก ด้านหน้าเป็นครูบาเจ้าศรีวิไชยและข้อความที่ระลึก 50 ปี ด้านหลังอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ล้อมรอบด้วยพระคาถาชนะมารอ่านว่า “สัมพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัตถิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สิระภูโตสะทาภะวะ” สร้าง 3 เนื้อด้วยกันคือ ทองคำ เงิน และ ทองผสม ซึ่งทองผสมทั้งพิมพ์ใหญ่และเล็กมีแบบกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และ กะไหล่ทองลงยาสีน้ำเงินด้วย

img046.jpg





กำหนดการมังคลาภิเษกได้จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อันเป็นวัดที่ครูบาเจ้าได้สร้างไว้ด้วยองค์ท่านเองและอยู่พำนักตลอดเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในตัวเมืองเชียงใหม่ ครูบาเจ้าสร้างวัดนี้เพราะมุ่งให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและเป็นศูนย์กลางในการประกอบกรณียกิจของท่าน เป็นสถานที่รับถวายปัจจัยไทยทานจากสาธุชน เป็นคลังเสบียงที่ใช้แจกจ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภคแก่ผู้ยากไร้ขาดแคลน เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องใช้ไม้สอยในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในเมืองเชียงใหม่ของท่าน ฯลฯ ดังนั้น...

สถานที่นี้จึงเป็นมงคลที่สุด

คณะกรรมการได้นิมนต์พระเถรานุเถระที่เป็นทั้งศิษย์สายตรงในครูบาเจ้าและที่เกี่ยวเนื่องในท่านทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามมาร่วมมังคลาภิเษก มีรายนามดังต่อไปนี้

img048.jpg




1. พระครูจันทสมานคุณ (ครูบาหล้า จันโทภาโส)
วัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

2. พระครูวิมลวรเวท (ครูบาบุญมี)
วัดท่าสะต๋อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

3. พระครูวรเวทวิศิษฐ์ (ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย)
วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

4. ครูบาสิงหวิชัย
วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

5. พระครูมงคลคุณาทร (ครูบาคำปัน)
วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

6. ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน
วัดวาฬุการาม (วัดป่าแงะ) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

7. ครูบาจันทร์แก้ว คันธวังโส
วัดดอกเอื้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

8. ครูบาโสภา
วัดผาบ่อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

9. ครูบาสิงห์แก้ว
วัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

10. ครูบาอ้าย 
วัดศาลา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

11. ครูบาอิ่นคำ
วัดข้าวแท่นหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

12. ครูบาคำตั๋น
วัดสันทรายหลวง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

13. ครูบาญาณวิลาศ
วัดต้นหนุน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

14. พระครูวิมลสีลาภรณ์ (ครูบาสุรินทร์ สุรินโท)
วัดหลวงศรีเตี้ย ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

15. ครูบามูล
วัดต้นผึ้ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

16. ครูบาศรีนวล
วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

17. ครูบาชัยวงศาพัฒนา
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

18. ครูบาอินตา
วัดห้วยไซ อ.เมือง จ.ลำพูน

19. ครูบาศรีนวล
วัดเจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย

พิธีมหามังคลาภิเษกเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เวลา 15.19 น. พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นองค์จุดเทียนชัย พระมหาเถระที่นิมนต์มาสวดพุทธาภิเษกเจริญพระพุทธมนต์ ทันใดนั้นเอง ท้องฟ้าก็เริ่มพยับเมฆมืดครึ้มลงอย่างน่าอัศจรรย์ ชั่วเวลาไม่นานฝนก็เริ่มตกลงมาอย่างที่เรียกว่า ‘ฝนพรำ’ นับแต่ยอดดอยสุเทพเรื่อยมาจนถึงเชิงดอย และบังเกิดกระแสลมเย็น พัดลงมาจากยอดเขาเข้าสู่วิหารวัดศรีโสดา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเกิดความเยือกเย็นและเงียบสงบอย่างน่าประหลาด 

เหตุเหล่านี้ทำให้ประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวเข้าร่วมพิธีต่างนั่งทำสมาธิพร้อมกันไปด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อพิธีเจริญพระพุทธมนต์ดำเนินไปจนถึงเวลา 19.19 น. บรรดาพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสซึ่งเป็นศิษย์ในครูบาเจ้าศรีวิไชยจำนวน 18 รูป ได้ประกอบพิธีสวดมนต์ไหว้พระตามแบบอย่างที่ได้เคยปฏิบัติเมื่อครั้งอยู่ร่วมกับครูบาเจ้าศรีวิไชย ซึ่งพิธีนี้อยู่นอกเหนือกำหนดการ นับเป็นมหามงคลแก่มงคลวัตถุและประชาชนในพิธียิ่งนัก

จากนั้นพระเถราจารย์ทุกรูปก็เข้าที่นั่งภาวนาอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุในมณฑลพิธีจนครบเวลานั่งปรกรอบแรก เมื่อพระเถระที่นั่งปรกรอบแรกเดินทางกลับ ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน วัดป่าแงะ ผู้อยู่ในวาระปรกรอบแรกได้แวะกราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิไชยที่ห้วยแก้ว แล้วท่านก็นำสาธุชนกล่าวอุทิศผลบุญที่ได้จัดงานนี้น้อมถวายเป็นกุศลแก่ครูบาศรีวิไชยและบรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นก็กรวดน้ำหยาดลงสู่แผ่นดิน

วินาทีนั้นเองฝนก็ตกพรำลงมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และกระจายวงออกไปจนชุ่มฉ่ำทั่วบริเวณ และที่สุดก็ตกไปทั่วเมืองเชียงใหม่ราวกับครูบาเจ้าและเหล่าเทพยดาได้ร่วมกันประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ลูกหลานทุกคน

ครั้นได้เวลามังคลาภิเษกรอบสอง ฝนที่ตกพรำมาตลอดก็หยุดลงทันที ท้องฟ้ากลับแจ่มใสไร้เมฆสมกับที่เป็นฤดูหนาว และไม่นานก็เกิดพระจันทร์ทรงกลดจนเกือบหมดเวลาในการปลุกเสกชุดที่สอง นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยทีเดียว

เมื่อพิธีเสร็จสมบูรณ์ก็มีการแสดงพระธรรมเทศนาต่อเนื่อง 4 กัณฑ์ สวดเบิกฉลองสมโภชแบบล้านนาโบราณจนใกล้อรุณ จากนั้นก็ทำวัตรเช้าสวดมนต์ไหว้พระพร้อมกัน ครั้นได้อรุณก็มีพิธีถวายข้าวมธุปายาสที่หุงขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

เป็นอันว่าเหรียญที่ระลึก 50 ปีถนนศรีวิไชยก็ผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาครบถ้วนบริบูรณ์อย่างไม่มีใดต้องติ พระภิกษุที่มาปลุกเสกก็ล้วนแต่เก่งกล้าสามารถในองค์เองอยู่แล้ว บางรูปเหรียญรุ่นแรกหากันเป็นพันเป็นหมื่นก็มี

แต่ที่มองข้ามไม่ได้คือ ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน ท่านผู้นี้เป็นพระ ‘สำคัญ’ รูปหนึ่งในเชียงใหม่ทีเดียว จิตตานุภาพของท่านนั้นนับว่าหาได้ยากกับพระที่เก่งจริงแต่อยู่อย่างไร้ชื่อ เมื่อท่านมาเสกพระชุดนี้ก็เป็นวาสนาของชาว ‘ศักดิ์สิทธิ์’ แล้วที่จะหามาใส่คอ ผมแนะนำไม่ได้หรอกว่าให้ไปหาที่ไหน แต่เคยพบเห็นตามแผงพระบ่อยไป ราคาก็ไม่แพง ยิ่งเทียบกับพุทธคุณแล้วมันคนละเรื่องกันเลย ฉะนั้นถ้าเจอจงเก็บเสีย วันนี้ไม่แพงหรอกครับแต่วันหน้าไม่แน่

เครดิต : http://www.navaraht.com