เหรียญกรมหลวงชุมพร พิมพ์เสมาใหญ่ หลัง หลวงปู่ศุข รุ่นมั่นคง ๒๕๕๑
ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
จ.สมุทรสงคราม
พิธีขลัง เจตนาดี อนาคตหายาก พร้อมกล่องเดิม
พุทธาภิเษก 11 พย. 2551
1.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
2.พระครูสมุทรกวี วัดกลางเหนือ จ.สมุทรสงคราม
3.พระครูสมุทรทิวากรคุณ วัดปากน้ำ จ.สมุทรสงคราม
4.พระครูสมุทรวุฒิคุณ วัดป้อมแก้ว จ.สมุทรสงคราม
5.พระครูสมุทรวชิรคุณ วัดเพชรสมุทรสรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
6.พระครูสิทธิกิจจากร วัดบางจะเกร็ง จ.สมุทรสงคราม
7.พระครูประภัศร์วรพินิจ วัดเทพประสิทธิ์คณาวาส จ.สมุทรสงคราม
8.พระครูอมรธรรมนายก วัดอมรวดี จ.สมุทรสงคราม
9.พระปลัดอุดม อุตตโม วัดปรกสุธรรมาราม จ.สมุทรสงคราม
10.พระครูปลัดธนัยชัย วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
11.พระสมุทรวชิรโสภณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
12.พระครูวัตตโกศล วัดโพธิ์งาม จ.สมุทรสงคราม
13.พระครูสมุทรธรรมาภรณ์ วัดปรกสุธรรมาราม จ.สมุทรสงคราม
14.พระครูอุดมสมุทรคุณ วัดปทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
15.พระครูธรรมสารรักษา วัดบรรหารแจ่มใส จ.สุพรรณบุรี
16.พระครูวิบูรณ์ธรรมานุกิจ วัดบางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ
17.พระครูภาวนาโสภณ วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี
18.พระครูวิมลจันโทภาส วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี
19.พระอาจารย์ขาว วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
พุทธาภิเษก 11 พย. 2551
1.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
2.พระครูสมุทรกวี วัดกลางเหนือ จ.สมุทรสงคราม
3.พระครูสมุทรทิวากรคุณ วัดปากน้ำ จ.สมุทรสงคราม
4.พระครูสมุทรวุฒิคุณ วัดป้อมแก้ว จ.สมุทรสงคราม
5.พระครูสมุทรวชิรคุณ วัดเพชรสมุทรสรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
6.พระครูสิทธิกิจจากร วัดบางจะเกร็ง จ.สมุทรสงคราม
7.พระครูประภัศร์วรพินิจ วัดเทพประสิทธิ์คณาวาส จ.สมุทรสงคราม
8.พระครูอมรธรรมนายก วัดอมรวดี จ.สมุทรสงคราม
9.พระปลัดอุดม อุตตโม วัดปรกสุธรรมาราม จ.สมุทรสงคราม
10.พระครูปลัดธนัยชัย วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
11.พระสมุทรวชิรโสภณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
12.พระครูวัตตโกศล วัดโพธิ์งาม จ.สมุทรสงคราม
13.พระครูสมุทรธรรมาภรณ์ วัดปรกสุธรรมาราม จ.สมุทรสงคราม
14.พระครูอุดมสมุทรคุณ วัดปทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
15.พระครูธรรมสารรักษา วัดบรรหารแจ่มใส จ.สุพรรณบุรี
16.พระครูวิบูรณ์ธรรมานุกิจ วัดบางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ
17.พระครูภาวนาโสภณ วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี
18.พระครูวิมลจันโทภาส วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี
19.พระอาจารย์ขาว วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
“---คนนับถือกรมหลวงชุมพรฯ เยอะ แต่คนไม่สนใจท่านในฐานะปุถุชน
คนไม่สนใจว่าท่านเคยทำอะไรมา หรือทรงมีพระปรีชาอย่างไร คนสนใจท่านแต่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์---”
เป็นข้อความตอนหนึ่งในคำบอกเล่าของ
ม.ร.ว. อภิเดช อาภากร ซึ่งมีศักดิ์เป็น “หลานปู่”
ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
กล่าวถึงเสด็จปู่ เมื่อครั้งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรฯ
เพื่อเขียนหนังสือเรื่อง “หลวงปู่ศุขกับกรมหลวงชุมพรฯ” ครั้งนั้นพบว่าหลักฐานต่างๆ
โดยเฉพาะจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่นั้นล้วนจดจำและมักจะเล่าถึงแต่เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระองค์มากกว่าที่จะเล่าเกี่ยวกับพระประวัติความเป็นมา
พระปรีชาสามารถ ตลอดจนผลงานการทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ แต่เมื่อได้ศึกษาพระประวัติของพระองค์ก็อาจคาดเดาถึงสาเหตุดังกล่าวได้โดยไม่ยากนัก
พลเรือเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด สายสกุลบุนนาค
เป็นพระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จไปทรงศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในทวีปยุโรป
ทรงเลือกศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองทัพเรือที่เก่งกาจเกรียงไกรที่สุดในสมัยนั้น
พระอุปนิสัยซึ่งมีพระเมตตาต่อผู้คนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
ทรงสามารถผูกใจนักเรียนที่มีนิสัยนักเลงได้ด้วยความเป็นนักเลงที่เหนือกว่า
กล่าวคือ กรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีฐานันดรศักดิ์และความรู้ที่สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เมื่อประกอบเข้ากับการดำเนินพระจริยวัตรในทางที่นักเลงสมัยนั้นนิยมกัน เช่น
เก่งฉกาจในวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวทุกรูปแบบ
มีคาถาวิทยาคมเพราะทรงมอบพระองค์เป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า
ที่ผู้คนสมัยนั้นเชื่อและนับถือว่าเป็นพระอาจารย์ด้านเวทมนตร์คาถา
จนเป็นที่ร่ำลือว่า ทรงอยู่ยงคงกระพัน สามารถหายตัวได้
จนทรงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เหล่าลูกศิษย์รู้สึกว่าพระองค์ทรงสามารถเป็นที่พึ่งได้
คือทรงมีทั้งพระบารมี มีทั้งความเป็นนักสู้และนักเลงที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
พระจริยวัตรสำคัญอีกประการหนึ่งคือ
ความไม่ถือพระองค์
ทรงแสดงให้ทุกคนประจักษ์และซาบซึ้งในพระคุณสมบัติส่วนนี้ตลอดพระชนมชีพ ดังที่มีเรื่องเล่าลือสืบมาว่า
ทรงรักและเอาพระทัยใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในเวลาและนอกเวลางาน
เล่ากันว่าครั้งหนึ่งเวลาค่ำขณะประทับพักผ่อนที่วังนางเลิ้ง มีผู้วิ่งมาทูลว่า
ทหารเรือชั้นผู้น้อยคนหนึ่งถูกรุมต่อยตีจากคู่ต่อสู้ที่ตลาดนางเลิ้ง
เมื่อทรงรู้ข่าวก็เร่งเสด็จไปสถานที่เกิดเหตุทันที
ทรงช่วยทหารเรือผู้นั้นให้รอดจากการถูกคู่วิวาทฟันด้วยการเอาพระองค์เข้ารับคมดาบโดยไม่เป็นอันตราย
หรือโปรดเสด็จไปสู่ขอผู้หญิงให้ลูกศิษย์ด้วยพระองค์เองในฐานะพระอาจารย์
มิใช่ในฐานะเจ้า
หรือโปรดให้ตั้งฌาปนกิจสถานสำหรับทหารเรือขึ้นเพื่อช่วยในการฌาปนกิจศพทหารเรือทุกระดับชั้นอย่างสมเกียรติยศ
เป็นต้น
พระจริยวัตรดังที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องน้อมนำจิตใจของผู้ใกล้ชิดให้ถวายความจงรักภักดีด้วยชีวิต
ยิ่งเมื่อประทานความเป็นกันเองโดยทรงเรียกขานพระองค์เองว่า “พ่อ” หรือ “เตี่ย” ก็ยิ่งทำให้สามัญชนทั่วไปรู้สึกว่าสามารถปวารณาตนเป็นลูกของพระองค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ความนิยมนับถือและบูชาในพระองค์ยิ่งกว้างขวางและยิ่งใหญ่ทวีคูณขึ้นอีกเมื่อครั้งโชคชาตาฟ้าลิขิตให้ต้องทรงรับบทบาท
“หมอพร” ครั้งนั้นก็ทรงจริงจังกับการเป็นหมอพร
ด้วยการทรงศึกษาวิชาแพทย์ทั้งของไทยและฝรั่ง ทรงนำความรู้ทั้ง ๒
แบบมาผสมผสานและทดลองจนทรงมั่นพระทัยในความเป็นหมอพร
จึงทรงรับรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไปโดยไม่คิดเงิน ไม่เลือกชั้นวรรณะ
ด้วยพระเมตตาอันเป็นพื้นพระอุปนิสัยที่แท้จริงของพระองค์
ทั้งความรู้พระปรีชาสามารถและน้ำพระทัย ทำให้ผู้คนที่มีโอกาสได้สัมผัสพระองค์
นึกไปถึงเทพเจ้าที่ทรงลงมาโปรดมนุษย์ในโลกมากกว่าจะเป็นเจ้านาย
จึงพร้อมใจขานนามพระองค์ว่า “หมอพรเทวดา”
เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ
สิ้นพระชนม์
ความรักอาลัยของผู้ที่รักใคร่เทิดทูนบูชาพระองค์ยังคงตราตรึงอยู่อย่างมิอาจลืมเลือน
ความดีงามเก่งฉกาจในทุกๆ ด้านของพระองค์ได้รับการบอกเล่าสืบต่อกันปากต่อปาก
มีการต่อเติมเสริมแต่งให้ทรงเป็นเสมือนผู้วิเศษ
จนพัฒนาเป็นความเชื่อว่าพระวิญญาณของพระองค์ยังคงอยู่คอยให้ความคุ้มครองภยันตราย
สดับตรับฟังทุกข์ร้อนของบรรดาลูกๆ
หรือช่วยเหลืออำนวยให้ได้รับผลสำเร็จในสิ่งปรารถนาเหมือนเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระชนมชีพ
จึงเกิดการบนบานขอให้ทรงช่วย
เมื่อได้รับผลตามต้องการก็ยิ่งทวีคูณความเชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สิ่งต่างๆ
ที่เนื่องในพระองค์ไม่ว่าจะเป็นพระรูปเหรียญ
ล้วนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนตั้งไว้บนที่สูงเพื่อเคารพบูชา
พระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง
พระหลวงปู่ศุขนั้นให้พุทธคุณ ทั้งด้านเมตตามหานิยม และ ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิ์ มี ฤทธิ์ มีเดช ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์พื้นๆนั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น กล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือและการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกดิผลด้วยการ ใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือ หลีกลี้ลับ บังคบให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็น ตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจนการผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็ยังคงเป็นใบมะขาม หัวปลี ก็ คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟาง ก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่อำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง จากหนังสือ "พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี 2519 เรื่องพระใบมะขาม ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ.2459)ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่น เงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง ข้าพเจ้าถามว่า การค้าขายจะให้ลงว่ากระไร ท่านบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู" ข้าพเจ้าจึงบอกว่า "หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร " หลวงพ่อบอกว่า " มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา" ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั้นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม และท่านเสกเป่าไปที่ศรีษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมทีไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุก ก็ ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์ จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฐาก รูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า "ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ"
อนึ่งท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจานั่งสงบอารมณ์ เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น " เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯเห็นจนท่านยอมเป็นศิษย์ " หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ลวงโลก แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่า อะไรอีก หลวงพ่อพูดต่อไปว่า "เวลานี้ กรมหลวงชุมพรฯไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง ) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติ ท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้ "
หลวงปู่ศุข กับ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
บางส่วนของบทความเรื่อง กฤติยาคม
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
แหล่งข้อมูล http://www.geocities.com/tdamrongsak/Chumporn.doc.
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ท่านเป็นชายชาตรี ใช้ชีวิตกลางแจ้งเพื่อศึกษาชีวิตของราษฎรตามหัวเมืองต่าง
ๆ และที่สำคัญท่านชื่นชอบพุทธเวท ไสยเวท เป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์เสด็จประพาสไปที่ใด หากทราบว่ามีพระอาจารย์ดีเรื่องอาคมเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป
พระองค์จะไปกราบนมัสการสนทนาในเรื่องของธรรมะและพุทธาคมอยู่เป็นนาน
พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์อีกด้วย ในจำนวนพระเกจิอาจารย์มีชื่ออยู่ในยุคนั้นที่เสด็จในกรมทรงศรัทธามากเป็นพิเศษและไปมาหาสู่บ่อย
ๆ คือ “หลวงปู่ศุข” หรือ “ท่านพระครูวิมลคุณากร” แห่งวัดปากคลองมะขาวเฒ่า
อำเภอสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท
แล้วก็เป็นเรื่องที่น่าแปลง
เมื่อกล่าวถึงพุทธาคมของหลวงปู่ศุข ก็จะต้องเขียนเรื่องกรมหลวงชุมพรฯ และถ้าหากเขียนเรื่องเสด็จในกรมในเรื่องความขมังเวท
ก็จะต้องมีเรื่องของหลวงปู่ศุข เข้ามาเกี่ยวข้องกันจนแยกไม่ออก
หลวงปู่ศุข เกิดเมื่อปี
พ.ศ.2396 ความเป็นมาในช่วงวัยเด็กจนเป็นหนุ่มรุ่นนั้น
ข้อมูลมีกันอยู่หลายกระแส คือท่านเป็นเด็กซุกซน
ชอบลงว่ายน้ำเกาะเรือโยงในแม่น้ำเป็นชีวิตจิตใจ
ทำให้มารดาของท่านเป็นห่วง ห้ามปรามก็ไม่เชื่อ
ทำให้มารดาโกรธและทำโทษเฆี่ยนตีสั่งสอน
แต่ผลจากการลงโทษนั้นทำให้เด็กชายศุขโกรธผู้เป็นแม่
รุ่งขึ้นจึงเกาะเรือโยงหนีออกจากบ้าน
ขณะที่อยู่ในกรุงเทพฯ
จนถึงวัยหนุ่มอายุ 18 ปี ได้พบเนื้อคู่ซึ่งเป็นสาวสายย่านบางเขน
ชื่อสมบูรณ์ หนุ่มศุขใช้ชีวิตครองเรือนจนมีบุตรคนหนึ่งซื่อสอน (บ้างก็ว่าชื่อชวน)
ใช้ชีวิตอย่างปุถุชนธรรมดาจนเบื่อ
ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจหักคานเรือน หนีภรรยาและบุตรไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง
จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เชย
เป็นพระอุปัชฌาย์
ครั้นบวชเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ศุขก็มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด
ถือวัตรธุดงค์อยู่ตามสถานที่วิเวกสันโดษ เยี่ยงพระอนาคาริกทั้งหลายในสมัยนั้น
การธุดงค์ไปตามป่าเขาของหลวงปู่ศุข
ทำให้ท่านได้พบพระวิปัสสนาจารผู้ทรงคุณและมีความรู้หลายท่าน
จนมีความเจนจบในไสยศาสตร์หลายสาขาอีกด้วย
ครั้นมารดาของท่านถึงแก่กรรมลง หลวงปู่ศุขก็ได้กลับบ้านเพื่อจัดการฌาปนกิจศพเป็นที่เรียบร้อย
ขณะเดียวกันท่านก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่านับแต่นี้ไปในกาลภายหน้าจะยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา
โดยจะถือเพศบรรพชิตอยู่ในวัดปากคลองมะขามเฒ่าไปจนตลอดชีวิต
ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศุข
ก็อยู่อย่างพระวิปัสสนาในวัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความเคร่งครัดในศีลาจารวัตร
เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องพรหมวิหาร 4
คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณฯ
ได้นำพระเครื่องเก่าองค์หนึ่งมาถวายแก่กรมหลวงชุมพรฯ
แล้วทูลว่าพระเครื่ององค์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยอด
ตกทอดมาตั้งแต่วังหน้า เนื่องจากพระองค์ชอบพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริง
จึงให้มหาดเล็กนำพระเครื่ององค์นั้นไปแขวนที่ปลายไม้ จากนั้นพระองค์จึงมีพระบัญชาให้นาวาเอกพระยาพลพยุหรักษ์
เป็นผู้ทดลองยิงพระเครื่ององค์นั้น โดยใช้ปืน ร.ศ.
บรรจุกระสุนที่เลือกแล้วเป็นอย่างดี ท่ามกลางผู้ที่ยืนดูการทดลองจำนวนมาก
จากการยิง 3 นัด ผลปรากฏว่าปืนกระบอกนั้นไม่มีเสียงระเบิดทั้ง
3 นัด คงมีเสียงสับนกกระทบตูดชนวนลูกปืนดัง แชะ แชะ
แชะ อันหมายความว่า กระสุนด้านและไม่ทำงาน
เสด็จในกรมทรางมีบัญชาให้หันลำกล้องปืนไปทางอื่นและยิงใหม่ ปรากฏว่ากระสุนเดิมทั้ง 3 นัด ส่งเสียงสนั่น อันหมายถึงกระสุนมิได้ด้าน
นับตั้งแต่ครั้งนั้นกรมหลวงชุมพรฯ
จึงมีความเชื่อถือในพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์และ พุทธานุภาพ พร้อมกันนั้นได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดี
เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรงคุณต่าง ๆ
ครั้นชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ศุขมีมากขึ้น
ก็มีความสนพระทัย ความคิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร
หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ ในครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ
เสด็จไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด้วยเรือทหารล่องลงมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา
แต่แทนที่จะล่องกลับถึงกรุงเทพฯ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรือกลไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามลำน้ำท่าจีน
อันแม่น้ำท่าจีนนั้นแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท
ไหลลงสู่อ่าวไทยที่เมืองสมุทรสาคร มีความยาวถึง 200
กม. และเส้นทางสายแม่น้ำท่าจีนนี้ได้ไหลผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย
เมื่อเรือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด
ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ
(ภายหลังหลายคนเชื่อว่าคงเป็นการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข) ในที่สุดก็เลยต้องชะลอเรือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า
ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ
พระองค์ทรงแลเห็นเด็กลูกศิษย์วัดกำลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามากองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว
จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ำนั่นแหละจึงเห็นหัวปลีกองโตขึ้น
ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระทำของเด็กวัดเหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย
ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้ามาที่กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม
ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้วจึงหย่อนร่างนั่งบนกองหัวปลีนั้น
พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง
จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลีขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัวปลีลงพื้น
แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะหัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล
กระโดดโลดเต้นอยู่ไปมา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี
ท่านทำอย่างต่อเนื่อง หัวปลีกลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด
เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้
กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้าราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดยทั่วหน้ากัน
ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคลำไปมาสักครู่
แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และทำอยู่อย่างนั้นทุกตัว
จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม
กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดคุยกับหลวงพ่อองค์นั้น
(ขณะนั้นเสด็จในกรมเรียกหลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ
“หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช้านานนั่นเอง
และหลวงปู่ศุขก็รู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหน้าคือพระราชโอรสแห่งพระพุทธเจ้าหลวง
“กรมหลวงชุมพรฯ”
นั่นเอง
การพูดคุยกันวันนั้นเป็นที่ถูกอัธยาศัยกันทั้ง
2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าสักหลายวัน
หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ำให้เป็นที่จอดเรือ
ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุชราและโอรสของเจ้าเหนือหัวได้เริ่มขึ้นแล้ว
เสกทหารกลายเป็นจระเข้
วันรุ่งขึ้น เสด็จในกรมได้ขึ้นไปสนทนากับหลวงปู่ศุขบนกุฏิ
การสนทนาในวันนั้นส่วนมากก็วนเวียนอยู่กับฤทธิ์อาคมเสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย
หลวงปู่ศุขก็เล่าบอกตามความเป็นจริงในทางที่ตนเองยึดถือปฏิบัติ
ยิ่งพูดคุยกันมากเสด็จในกรมก็ยิ่งรู้ว่าหลวงปู่ศุขมีอาคมมากมาย
ทั้งยังสามารถเสกคนให้เป็นจระเข้ได้อีกด้วย ในตอนหนึ่งของการสนทนา
หลวงปู่ศุขได้สอบถามกรมหลวงชุมพรฯ ว่า “ปรารถนาจะใคร่ชมคนกลายเป็นจระเข้หรือไม่”
เสด็จในกรมและข้าราชบริพารที่นั่งอยู่ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากเห็นคนกลายเป็นจระเข้”
เมื่อทุกคนอยากดูการเสกคนเป็นจระเข้
หลวงปู่ศุขจึงบอกให้เสด็จในกรมคัดเลือกคนรูปร่างล่ำสันแข็งแรง
พระองค์จังคัดเลือกพลทหารมาได้คนหนึ่งชื่อ “จ๊อก”
จากนั้นหลวงพ่อสั่งให้เอาเชือกเส้นใหญ่มักที่เอวของพลทหารจ๊อกอย่างแน่นหนา แล้วพาไปที่สระน้ำแห่งหนึ่งในวัด
ให้พลทหารผู้นั้นนั่งคุกเข่าลงข้างสระ แล้วสั่งให้หลับตาพนมมืออยู่นิ่ง
ๆ ส่วนตัวหลวงปู่จับปลายเชือกไว้แน่น พลางบริกรรมคาถาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็เป่าพรวดลงไปที่ศีรษะพร้อมกับใช้ฝ่ามือที่ไม่ได้จับปลายเชือกตบลงที่กลางหลัง
พร้อมกับผลักพลทหารจ๊อกตกลงไปในสระน้ำเสียงตูมใหญ่
สายตาทุกคู่จ้องเป็นจุดเดียว กรมหลวงชุมพรฯ
ยืนมองร่างพลทหาร ท้องน้ำแตกกระจายเป็นวงกว้าง
ครั้นน้ำสงบลงจึงแลเห็นร่างของจระเข้ตัวโตอยู่ในน้ำ ส่วนหัวมีเชือกผูกติดตัวแหวกว่ายวนเวียนสะบัดหากฟาดน้ำอยู่ไปมา
ทุกคนในที่นั้นต่างอัศจรรย์ในความขมังเวทย์ของหลวงปู่ศุข
ส่วนกรมหลวงชุมพรฯ ทรงทอดพระเนตรดูลูกน้องกลายเป็นจระเข้ แหวกว่ายอยู่ในสระน้ำด้วยใจระทึก
ร่างของจระเข้พยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะดำดิ่งลงก้นสระ ติดแต่ว่าถูกล่ามเชือกอยู่ โดยเหล่าทหารเข้าช่วยหลวงปู่ดึงเอาไว้
หลวงปู่ศุขได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า
“ท่านจะให้ลูกน้องกลับเป็นคนหรือจะให้เขาเป็นจระเข้อยู่อย่างนั้น”
กรมหลวงชุมพรฯ ได้ตรัสตอบว่า “ต้องการให้เขากลับเป็นมนุษย์อย่างเดิม” หลวงปู่ศุขจึงให้พวกทหารช่วยกันดึงเชือกให้หัวจระเข้โผล่ขึ้นมาพร้อมกับสั่งกำชับว่า
“อย่าปล่อยให้เชือกหลุดมือหรือขาด หากจระเข้หลุดไปแล้วมันจะดำลึกลงกบดานที่ก้นสระ
โอกาสที่จะทำให้คืนร่างเป็นมนุษย์คงยาก”
พวกทหารจึงช่วยกันดึงรั้งเชือกกันสุดแรง
กลายเป็นการชักเย่อระหว่างคนกับจระเข้ ส่วนหลวงปู่ศุขท่านเดินกลับกุฏิ ครู่ใหญ่ถือบาตรน้ำมนต์ตรงมายังขอบสระที่จระเข้กำลังตะเกียกตะกายหนี
จากนั้นท่านได้บริกรรมคาถากำกับน้ำมนต์อยู่อึดใจแล้วท่านได้สั่งด้วยเสียงอันดังว่า
“เอา ออกแรงดึงขึ้นมาหน่อย”
ทหารทุกคนทำตาม ออกแรงดึงให้ร่างจระเข้ลอยบนผิวน้ำ
หลวงปู่ศุขจึงเอาน้ำมนต์ที่เสกแล้วเทราดบนหัวจระเข้
ความอัศจรรย์เกิดขึ้นเป็นคำรบสอง ร่างจระเข้ที่ดิ้นรนและฟาดหางไปมานั้นค่อย ๆ
มีอาการสงบลง แล้วร่างที่ขรุขระของจระเข้ก็กลายเป็นผิวเนื้อของมนุษย์ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง
จนกลายเป็นทหารคนเดิมในเวลาต่อมา
กรมหลวงชุมพรฯ มองดูทหารผู้นั้นด้วยความอัศจรรย์ในเป็นที่สุด
เรื่องที่พระองค์ไม่เคยพบเห็นในชีวิตก็ได้มาเห็นที่วัดของหลวงปู่ศุข
(เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้ “สระประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้ถูกถมเป็นพื้นดินราบและส่วนหนึ่งของสระได้ปลูกสร้างตึกเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่ารูปต่อ
ๆ มา)
อนึ่ง จากหนังสือพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยชัยมงคล อุดมทรัพย์
ได้บันทึกไว้เป็นความตอนหนึ่ง ดังนี้
จากการบอกเล่าของพลทหารจ๊อก
ภายหลังร่างกลับกลายเป็นคนว่า
ขณะที่ตนลงไปในสระก็มิได้รู้สึกตัวว่าตัวเองเป็นจระเข้แต่อย่างใด
เพียงแต่รู้สึกว่าตัวเองมีพละกำลังมหาศาลผิดปกติเท่านั้น
และแหวกว่ายน้ำด้วยจิตใจคึกคะนองฮึกเหิม ในอยากดำผุดดำว่ายทั้งที่มองตัวเองแล้วก็มีร่ายกายเหมือนคนทุกอย่าง
ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเสกคนให้เป็นจระเข้ของคุณทวี
เย็นฉ่ำ ผู้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์คนหนึ่งของเมืองไทยกล่าวไว้ว่า “จระเข้วิชา” ก็คือ “คน” ซึ่งแก่กล้าวิชาอาคม
และมีเหตุให้กลายร่างเป็นจระเข้ เพราะความเรืองวิชาอาคมของตนเอง
จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญหรืออะไรก็ตามที
ทำให้ไม่สามารถรดน้ำมนต์ลงไปที่ตัวจระเข้ได้ บุคคลผู้นั้นก็จะกลายเป็นจระเข้ต่อไปจนกว่าจะแก้มนต์กำกับหรือมนต์อาถรรพณ์ได้
ดังเช่นตำนาน “จระเข้คน” จากจังหวัดพิจิตรอันเป็นแดนอาถรรพณ์ต้นกำเนิดนิทานพื้นบ้านอันลือลั่น
เรื่องไกรทองและชาละวันนั่นเอง
มีเรื่องเล่าจากนายเนตร
แพงกลิ่น ที่เคยบวชเรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ได้เล่าถึงคนกลายเป็นจระเข้แล้วมาให้หลวงปู่ศุขช่วยแก้อาถรรพณ์ให้ว่า
ณ ท่าเรือทองนี้ (อยู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า) มีการลงอาถรรพณ์ไว้
หากจระเข้วิชามาถึงท่าเรือทองนี้ จะต้องลอยหัวโผล่ขึ้นมา ไม่สามารถดำน้ำได้อีกต่อไป คราวนี้พวกญาติจะนำน้ำมนต์หลวงปู่ศุขไปราดที่หัว
จระเข้วิชาก็จะกลายเป็นคนตามเดิม
โดยจะนอนแน่นิ่งเกยตื้นริมตลิ่งอยู่
บางทีมีเรื่องทุลักทุเลไม่อาจราดน้ำมนต์ที่หัวจระเข้ได้ เพราะความกลัวของบรรดาญาติ
หรืออะไรก็ตามแต่ บางทีเป็นเดือน ๆ เป็นปี ๆ ก็มี
จระเข้วิชาเมื่อถูกราดด้วยน้ำมนต์แก้อาถรรพณ์แล้ว จะกลายเป็นคนนิ่งเงียบ
ไม่ยอมพูดจา ญาติจะช่วยกันประคองไปหาหลวงปู่ศุขที่กุฏิ
ท่านก็จะทำพิธีแก้อาถรรพณ์รักษาให้ นานอยู่ประมาณ 7-8 วัน คนผู้นั้นจึงจะพูดได้
ในบันทึกของนายเนตร
แพงกลิ่น ยังกล่าวอีกว่า
“เคยเห็นมีการรักษาจระเข้วิชานี้ประมาณ 3-4 ครั้งเท่านั้น และทั้งหมดเป็นจระเข้จากจังหวัดพิจิตร
จุดสังเกตจระเข้วิชาปากจะสั้น มีรูปร่างเหมือนหัวปลี
ย้อนกลับมาเรื่องเสด็จในกรมพระองค์ได้เห็นการเสกหัวปลีเป็นกระต่ายขาว
จนถึงการเสกพลทหารจ๊อกเป็นจระเข้ แล้วทรงยอดรับว่าอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข
วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้นเหนือกว่าพระเกจิอาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่พระองค์ประสบพบมา
รู้สึกพอพระทัยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า
ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข
ตลอดชีวิตของหลวงปู่ศุข
วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้น มีลูกศิษย์มากหลาย
แต่ผู้ที่นับเนื่องได้ว่าเป็น “ศิษย์เอก”
มีเพียงท่านเดียวเท่านั้น คือ “กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”
ที่นับเป็น “ศิษย์เอก” มิใช้เพราะกรมหลวงชุมพรฯ มีเชื้อเจ้าหรือเป็นโอรสของรัชกาลที่
5 แต่ที่นับเป็นศิษย์เอกก็เพราะศิษย์คนนี้รักและเคารพอาจารย์อย่างยอมตายถวายชีวิต
กับอาจารย์จะสั่งอย่างไรก็ทำตามได้ รับถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไว้ได้มากที่สุด
และทำตามอาจารย์ได้ในการแสดงอิทธิฤทธิ์และอภินิหาร
มีบันทึกจากคนเฒ่าคนแก่ยืนยันว่า “เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ”
ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ศุขไว้มากที่สุดเหนือกว่าศิษย์คนใด
และมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งดุจบิดากับบุตร
กาลต่อมาเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ
สิ้นพระชนม์ (19
พฤษภาคม พ.ศ.2466) เมื่อหลวงปู่ศุขท่านทราบถึงกับนั่งนิ่งซึม
ท่านอยู่ในอากัปกิริยาเช่นนั้นนานมากดุจท่านปลงวอย่างหนักกับกฎแห่งวัฏสงสาร
หรือสังสารวัฏในโลกนี้ ในที่สุดปลายปี พ.ศ.2466 หลวงปู่ศุขได้มรณภาพลงด้วยโรคชราอันเป็นปีเดียวกับที่กรมหลวงชุมพรฯ
สิ้นประชนม์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น