วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

เหรียญท้าวเวสสุวรรณราชา๕๕ แปดเหลี่ยม หลังยันต์แปดทิศ วัดดอนแก้ว ต.ดอนแก้ว อ.แมริม จ.เชียงใหม่



ปลุกเสกที่วัดสันป่าข่อย เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2554 โดยมีหลวงพ่อครูบาเมตตาอธิฐานจิตประกอบด้วย
ครูบาบุญยืน ถาวโร วัดสบร้อง จ.ลำพูน
ครูบาสิงห์ทอง วัดป่าบุก จ.ลำพูน
ครูบาอุ่น อตฺถกาโม วัดโรงวัว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 
ครูบาทองคำ วัดสันป่าข่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่




เข้าร่วมมหาพุทธาภิเษก สวดภาณยักษ์ สวดนพเคราะห์ ที่วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2554 ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่ออิฎฐ์








หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน เมตตาอธิฐานจิต



วันที่ 9 มีนาคม 2555 เวลา 16.00 น. หลวงปู่ครูบาอินถา ฐิตธมฺโม วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง เมตตาอธิฐานจิตนั่งปรก พระสงฆ์อำเภอแม่ริม 16 รูป โดยการนำของพรครูวิจิตรธรรมรักษ์ เจ้าคณะอำเภอแม่ริม เจริญพุทธมนต์สวดธัมมักกัปปวัตตนสูตร




วันที่ 10 มีนาคม 2555 เวลา 17.00 น. ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล เมตตาอธิฐานจิตนั่งปรก พระสงฆ์คณะสวดวัดมหาวัน จ.ลำพูน สวดพุทธาภิเษก(สวดโขโณ) 

 

วันที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 13.19 น.
หลวงพ่อพระครูสุวัฒนวรคุณ(ครูบาทองคำ จนฺทวณฺโณ) วัดสันป่าข่อย
หลวงพ่อพระครูอดุลปุญญาภิรัต วัดท่าหลุก
หลวงพ่อพระครูพิพิธปุญญาภิรัต(ครูบาอินตา กตปุญโญ) วัดศาลา
ครูบาสิงห์ทอง วัดป่าบุก จ.ลำพูน
หลวงพ่อพระครูโสภิตวิริยาภรณ์(หลวงพ่ออิฎฐ์) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
เมตตาอธิฐานจิตนั่งปรก
     พระสงฆ์ 16 รูป เจริญพุทธมนต์สวดมนต์ตั๋น โดยการนำของ หลวงพ่อพระครูอุปถัมภ์สานคุณ วัดป่าแพ่ง
หลวงพระครูพิพัฒน์สมาจาร วัดชมพู
หลวงพ่อพระครูประภัศภ์สุตกิจ วัดหม้อคำตวง
หลวงพ่อพระครูสุนทรธรรมวิจิตร วัดดอนมูล
หลวงพ่อพระครูสุนทรธรรมวิจิตร วัดชัยพระเกียรติ์
หลวงพ่อพระครูโสภิตสีลาจาร วัดดอกเอื้อง
หลวงพ่อพระครูสุวิมลธรรมรักษ์ วัดลอยเคราะห์
หลวงพ่อพระครูสุจิตรัตนาทร วัดชัยมงคล
หลวงพ่อพระครูประทีปธรรมาภิรัต วัดนันทาราม
หลวงพ่อพระครูคำมูล วรธมฺโม วัดโสภณาราม
หลวงพ่อพระครูมงคลสิริวงศ์ วัดดอนตัน
หลวงพ่อพระครูพูลรัตน์ ธมฺมรตโน วัดโสภณาราม
หลวงพ่อพระครูสิริวรธำรง วัดสมเด็จดอยน้อย
หลวงพ่อพระครูวิบูลธรรมพิพัฒน์ วัดสว่างบันเทิง
หลวงพ่อพระครูจารุวรรณพิพัฒน์ วัดเดชดำรงค์
พระอาจารย์เจ้าอธิการบุญต่อ อุปวณฺโณ วัดศรีสว่าง(วัวลาย)

ที่มาของข้อมูล : www.pralanna.com



ยันต์แปดทิศ "โป๊ยข่วย" หรือ "ปากั้วถู" มีสรรพคุณ ทางด้านเมตตา อยู่ยงคงกะพัน ป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุ คุ้มคองทิศทั้งแปด สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ จากไม่มีเป็นมี จากบวกเป็นลบ จากร้ายกลายเป็นดี จากทุกข์กลายเป็นสุข 

ยันต์แปดเหลี่ยม ซึ่งให้ความหมายถึงแปดทิศใหญ่ จะแผ่รังสีไปได้กว้างไกลทั้งแปดทิศ จะสามารถป้องกันและสะท้อนพลังร้ายต่างๆให้หันเหไปทางอื่น 
แต่ละทิศ มีความหมาย 8 ประการ คือ
 1.ทิศเหนือ หมายถึง น้ำ
 2.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง ภูเขา
 3.ทิศตะวันออก หมายถึง สายฟ้า 
4.ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ลม
 5.ทิศใต้ หมายถึง ไฟ
 6.ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมายถึง ดิน
 7.ทิศตะวันตก หมายถึง ทะเลสาบ
 8.ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึง ฟ้า


 ตำนานเรื่องยันต์แปดทิศ หรือที่เรียกชื่อในภาษาจีนว่า โป๊ยข่วย หรือ ปากั้วถู ว่ากันว่ามีปรากฎอยู่ในคัมภีร์โบราณอี้จิงมานานกว่า 5,000 ปีแล้ว 
             ซึ่งมีความหมายว่าเป็นยันต์แห่งฟ้าและดิน หยินกับหยาง  หญิงกับชาย  ร้อนกับเย็น  ดีกับเลว  มืดกับสว่าง  อะไรก็ตามที่เป็นคู่กันในความหมายที่มักจะตรงกันข้าม
             ยันต์แปดทิศไม่ใช้ยันตร์แก้ไข หากแต่เป็นยันตร์ป้องกัน คุ้มภัย ลดความรุนแรง    แผ่กระจายให้พ้น 
             รูปลักษณะของยันต์แปดทิศ จะเป็นกรอบแปดเหลี่ยม ภายในกรอบแปดเหลี่ยมมีขีดเต็มและขีดประ หรือขีดยาวทั้งหมดแต่มีเส้นตั้งขวางบางช่วงของแต่ละทิศ อาจอยู่ระหว่างเส้นใดก็ได้ ไม่คงตัว แต่ความหมายของขึด 3 ขี้นั้นหมายถึง
              ขีดบนหมายถึงฟ้า ขีดกลางหมายถึงมนุษย์ และขีดล่างหมายถึงดิน ส่วนวงกลมตรงกลางมีทั้งที่เป็นกระจกใสสะท้อนแสงแบบนูนและแบบเรียบ หรือสัญลักษณ์ของหยินกับหยาง หรืออื่นๆ
              ถ้าเป็นกระจกเรียบ หมายถึงการสะท้อนกลับออกไปของสิ่งเลวร้ายที่พุ่งตรงเข้ามา  แต่ถ้าเป็นกระจกโค้ง หมายถึงการแผ่กระจายให้กลืนหายไป ไม่ส่งสะท้อนกลับไปยังทิศที่ถูกส่งมา


1 ความคิดเห็น: