วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องของ พุทธคุณ


เรื่องของ พุทธคุณ 

เรื่องพุทธคุณที่เกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง มีวันเสื่อมหรือไม่นั่นตอบไม่ได้ สมัยเด็กๆ ผู้ใหญ่จะสอนว่าเมื่อแขวนพระแล้วอย่ามุดใต้ถุน, ห้ามลอดราวตากผ้า ห้ามเข้าซ่อง ฯลฯ พระจะเสื่อม แต่พอโตขึ้นมาจำได้ว่าเคยฟังพระท่านเทศหรืออ่านหนังสือก็ไม่แน่ใจ ท่านกล่าวไว้ว่า พุทธคุณในองค์พระที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษก ก็เหมือนกับกระแสไฟมีพลังงานในตัว ผู้ที่นำไปใช้ก็เหมือนสื่อ ถ้าประพฤติปฏิบัติดี เป็นคนดี ก็สามารถรับพลังนั้นได้อย่างเต็มที่ (พุทธคุณคุ้มคอรง) แต่ถ้าปฏิบัติตัวไม่ดี ก็จะไม่สามารถรับพลังงานที่ส่งมาได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าคนดีได้พระดีคุ้มครอง ส่วนคนไม่ดีถึงได้พระดีก็คุ้มครองไม่ไหว (จะพบตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ )
.การปฏิบัติตัวเมื่อคล้องพระ ที่จริงพระที่พระเกจิอาจารย์ทั้งหลายท่านสร้างขึ้นมา ตามความคิดของผม แบ่งออกเป็น ๔ ความมุ่งหมายคือ
- เพื่อสืบทอดศาสนา (จะนำไปฝังไว้ในกรุ (ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ฐานพระประธาน หรือไม่ก็ในเจดีย์)
- เพื่อเป็นกุสโลบายไม่ให้คนคิดทำชั่ว เป็นการเตือนสติให้รู้จักใช้ปัญญาคิดพิจารณาก่อนจะกระทำการใดๆ ทั้งที่ดีและไม่ดีก็ตาม (อารธนาพระก่อนสอบ, ก่อนขับรถ แขวนพระแล้วไม่เข้าไปในที่อโคจร เป็นต้น)
- เพื่อขวัญและกำลังใจในทางการค้า (ประเภทเมตาตา)
- เพื่อทำให้มีขวัญกำลังใจ ฮึกเหิม ในการปฏิบัติงานราชการสงคราม (ศึกบางระจัน, ๓ จังหวัดชายแดน)

ของที่ปลุกเสกมาอย่างดี ไม่มีวันเสื่อม ขนาดพระแตกหักแล้วจะนำไปเป็นมวลสารสร้างพระใหม่ พระเกจิท่านยังต้องทำพิธีก่อน ก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกศิษย์เอาไปตำหรือบดผสม

พุทธคุณไม่มีเสื่อมครับ นอกจากจะไม่นับถือ ไม่แสดงความเคารพนั่นแหล่ะถึงเสื่อมสำหรับคนคนนั้น

ทุกอย่างอยู่ที่ใจครับ เราเคารพนับถือครูบาอาจารย์ ก็ถือว่าเรายึดมั่นใจวัตถุมงคลนั้นเเล้ว ความศักดิ์สิทธิ์ย่อมเกิดครับ



สาเหตุที่พระเสื่อม


คงจะเคยได้ยิน ได้เห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับคนที่ห้อยพระเต็มคอ สักยันต์เต็มตัว ตระกรุดรอบเร็ว โดนยิงตายบ้าง แทงใส้ทะลักบ้าง
หลายคนอาจสงสัย พระเสื่อมหรือเปล่า ? พระเก๊รึเปล่า ?
สาเหตุเป็นแบบนี้ครับ
เวลาปลุกเสกพระ ท่านก็เชิญคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ มาเหมือนๆกัน ฉะนั้นเมื่อไปลบหลู่คุณของท่านเหล่านั้น มันก็เท่ากับเราลบหลู่ครูบาอาจารย์ของเราด้วย
ห้ามคนแขวนลบหลู่บุพการี (คือพ่อแม่) ของตัวเอง และคนอื่น ห้ามลบหลู่ครูบาอาจารย์ของคนอื่น ถ้าทำได้อย่างนี้พระนั้นขลังจริง
> การด่า ในใจ หรือออกเสียงอะไรก็แล้วแต่ เช่น …แม่ พ่อ…. อะไรทำนองนี้ ตามที่ติดปากวัยรุ่นในปัจจุบัน
> ติดวัตถุมงคลไปใน ซ่อง หรือ สถานบริการ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ
> ติดวัตถุมงคลระหว่าง กามกิจ หรือ เพศสัมพันธ์
ไม่ใช่แค่พระเท่านั้น วัตถุมงคลต่างๆ ทุกชนิดด้วย ไม่ว่าของอาจารย์ไหน หลวงพ่อที่ไหน
หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ท่านว่ามาแบบนี้


ที่มา: http://watwangdong.com/150-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1.html


พระเครื่อง เสื่อมได้ไหม

ถ้าการปลุกเสกพระเครื่องรางวัตถุมงคล คือ 
การที่พระภิกษุ หรือ คนผู้ทำพิธี ขออำนาจของพระรัตนตรัย
ขออำนาจของภูตผี เทพพรหม
ตลอดจนอำนาจของครูบาอาจารย์ และของตนเอง
ประจุพลังงานลงในพระเครื่องรางของขลังต่างๆ

ก็ในเมื่อผู้ปลุกเสก
ยังเป็นผู้ที่ยังไม่เที่ยง
ย่อมไม่อาจทำให้พลังงาน นั้นเที่ยงได้

พลังงานที่อยู่ในวัตถุมงคลต่างๆ
ย่อมเสื่อมลงได้ เพราะอยู่ภายใต้ความไม่เที่ยง
ทั้งจากการเสื่อมลงเอง ตามกาลเวลา
จากการเสื่อมความดี ของผู้ใช้
จากพลังงานอื่น ที่มาแทนที่ หรือแปรเปลี่ยน จากรูปเดิมไป

แต่ ไม่ว่ากรณีใดๆ

พระ คือ 

พระพุทธเจ้าไม่มีเสื่อม
พระธรรมไม่มีเสื่อม
พระอริยสงฆ์ไม่มีเสื่อม

แต่คนเรานี่สิ เสื่อม

จึงได้บอกว่าพระเสื่อม

เมื่อคนเราเสื่อมจากคุณความดีเสียแล้ว พระ หรือ ใครที่ไหน จะรักษา

ก็กรรมที่เราทำนั้น ย่อมตามเราดุจเงาตามตัว
รอเวลาที่จะให้ผล ตามเหตุปัจจัยเท่านั้น

แต่เมื่อเรารักษาคุณความดี ความดีนั่นแหละที่จะรักษาเรา
กรรมที่เราทำดี ย่อมส่งผลให้เราได้ผลที่ดี

ธรรม ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรม ก็คือ ธรรมชาติ
ผู้ปฏิบัติดีตามธรรมชาติ ย่อมได้รับผลดีตามธรรมชาติ นั่นเอง

พระพุทธเจ้า เข้าถึงธรรมชาติ
จึงนำธรรมชาตินั้น มาสอน
สอนให้ เข้าถึงธรรมชาติ
จนกลายเป็น ธรรมชาติ 
และกลับสู่ ธรรมชาติ

แต่คนเรา ทำผิดธรรมชาติ
จึงได้รับผลสะท้อนของธรรมชาติ
แล้วก็พากันโทษธรรมชาติ
ทั้งที่ตนนั้นก็อยู่ในกฏแห่งธรรมชาติเหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น